ประวัติความเป็นมาของ Internet
จากอดีต-ปัจจุบัน
internet ในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นจากกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ต้องการติดต่อเพื่อนและนักวิจัยในต่างประเทศโดย
ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
- โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
- เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
- สายโทรศัพท์ทองแดง
โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป
นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
ปี 2530 ม.สงขลา (PSU) ได้ทำการใช้ e-mail เป็นครั้งแรก โดยเชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเวลาเดียวกัน สถาบัน AIT (Asian Insitute of Technology) ได้ทดสอบ UUCP โดยเชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย Melbourne และ มหาวิยาลัยในโตเกียว โดยผ่านเครือข่าย X.25 ที่ให้บริการโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย internet ในช่วงแรกส่วนมากจะใช้วิธี dial ไปที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ
ปี 2531 ได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet) ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25
นอก จากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
ปี 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP
เครือ ข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ"
ปี 2535 The National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) หลังจากที่ได้สร้างเครือข่ายของมหาวิยาลัยขึ้นมาอีกเครือข่ายนึง (Inter-University Network) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2530 เนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn"และได้สร้าง NEWgroup (NECTEC's Email Working Group) เพื่อใช้ในการรับส่ง Email กับ NECTEC เป็นผลให้เกิด Thai Social/Scientific, Academic and Research Network (ThaiSarn) โดยการรวมกันระหว่าง TCSNet และ Inter-University Network ในปีนั้นเอง เครือข่าย internet ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว MHSNet และ UUCP โดยใช้ dial-up หรือเครือข่าย X.25 ก็ถูกแทนโดย Internet Protocol (คือใช้ได้ทุก feature ของ Internet จากเดิมที่ใช้แค่ E-mail อย่างเดียว) โดยผ่านวงจรเช่า (leased lines) เริ่มด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF) หลังจากนั้นไม่นาน NECTEC ก็เชื่อมต่อกับ UUNET ความเร็ว 64 Kbps เครือข่ายของ ThaiSarn ในขณะนั้นไม่ได้มีเพียงสถาบันการศึกษาเท่านั้นแต่มีองค์กรของรัฐร่วมอยู่ด้วย
ปี 2537 หลายโรงเรียนได้เริ่มทดสอบการใช้งาน internet เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537 ฅ
AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร
ปี 2538 เกิดโครงการ SchoolNet โดย NECTEC, Internet สำหรับเอกชนได้ถือกำเนิดในปีนี้เช่นเดียวกัน หลังจาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) และ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT) ศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน ก็ให้ลิขสิทธิ์ (licensed) ให้แก่ Internet Thailand ให้เป็น Internet Service Provider (ISP) รายแรก โดย Internet Thailand ได้เชื่อมต่อกับ UUNET ด้วยความเร็ว 512 Kbps ในช่วงเวลาเดียวกัน KSC Comnet ก็ได้รับลิขสิทธิ์เช่นกัน หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก็มีอีก 3 บริษัทได้รับลิขสิทธิ์ ตั้งแต่นั้นมา Internet ในประเทศไทยก็เริ่มโตอย่างรวดเร็ว รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน
ปี 2539 หลังจากเกิด ISP ขึ้นมากมายและแต่ละรายก็มี link เชื่อมไปต่างประเทศเป็นของตนเอง เดือนมิถุนายน CAT จึงเริ่มให้บริการ the International Internet Gateway (IIG) เพื่อให้บริการเชื่อมต่อ Internet สำหรับ ISP ที่ไม่สามารถมี link เชื่อมต่อไปต่างประเทศโดยตรง ISP เล็กหลายแห่งได้ใช้บริการของ IIG เพื่อลดต้นทุน แต่ ISP ส่วนใหญ่ยังคงมี link ของตนเองเพื่อความเสถียร (reliability) และใช้ในการแข่งขัน นอกจากนั้น CAT ยังให้บริการ local internet exchange ในชื่อ Thailand National Internet Exchange (TH-NIX) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
ปี 2540 ในเดือนพฤศจิกายน NECTEC เปิดให้บริการ local internet exchange ขึ้นในชื่อ The ThaiSarn Public Internet Exchange (PIE) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ต่างๆเข้ากับ ThaiSarn Public access Network นอกจากนั้นคือเพิ่มทางเลือกให้แก่ ISP เนื่องจาก TH-NIX มีระเบียบข้อบังคับมาก
ปี 2541 ในเดือนพฤษภาคม TH-NIX และ PIE ได้เชื่อมต่อกันด้วยความเร็ว 2 Mbps
ปี 2550 บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet) ในประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างสูงและมีความต้องการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นทุก วัน ทั้งปริมาณผู้ใช้และปริมาณอัตราการรับส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากขึ้นทุกวัน
การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย
ต่อมาเมื่อ ตุลาคม 2540 เปลี่ยนรูปกิจการเป็น บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และได้รับสิทธิ์การให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์อีกเป็นครั้งที่สอง และเมื่อ พฤศจิกายน 2544 แปรรูปพ้นสถานะรัฐวิสาหกิจโดยกระจายหุ้นส่วนใหญ่ ให้กับประชาชนผู้สนใจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จนกระทั่งได้มีองค์กรอิสระองค์กรหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทร คมนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นและบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมให้เกิด ประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช. นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจหน้าที่ของ กทช. ที่ พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้บัญญัติให้ กทช. ต้องดำเนินการเปิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม จึงทำให้ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ถึง 59 ราย ภายในเวลาสองปีตั้งแต่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่มา เนื่องจาก กทช. ได้ดำเนินนโยบายเปิดเสรีให้ผู้ที่มีศักยภาพเข้าสู่ตลาดมากขึ้นและผู้ประกอบ การเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ถูกมาก ทำให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ทุกรายในประเทศสามารถพัฒนาคุณภาพบริการของตนให้สูงที่สุดได้และมีราคาถูกที่ สุดได้ อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ตกแก่ประชาชนเป็นหลัก
ผู้ใช้ในประเทศไทยยุคเริ่มแรกจนถึง ปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายเป็นสำคัญ (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงใน ปัจจุบัน
Business Model บริการ อินเทอร์เน็ต ในอดีตประชาชนเข้าถึงโครงข่าย อินเทอร์เน็ต โดยการใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน โดยใช้โมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up และคิดค่าบริการเป็นชั่วโมง
การใช้ โมเด็ม โทรเรียกเข้าศูนย์บริการผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานดั้งเดิมจะมีอัตราการส่ง ข้อมูลที่ 28.8 kbps (28.8 กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งสาเหตุที่ทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้เพียง 28 kbps นั้น เนื่องจากว่าสายโทรศัพท์พื้นฐานตามบ้านเดิม เป็นโครงข่ายที่ทำจากลวดทองแดง ซึ่งจากคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical Property) ของลวดทองแดงนั้น สามารถอนุญาตให้สัญญาณทางไฟฟ้า ที่มีความถี่ไม่เกิน 28 กิโลเฮิร์ซ หรือ 28 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้นผ่านไปได้ แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วย เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps และความหวังของผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต หลายฝ่ายดูเหมือนจะจบลงด้วยข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลเท่านั้นอยู่หลายปี อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก
จู่ๆ ก็เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสาย ทองแดง กันอย่างมากมายทั่วโลก โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงเทคนิคการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์เดิมเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL เป็น เทคโนโลยี ที่พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ลวดทองแดงธรรมดา ให้สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ทะลุขีดจำกัดด้านคุณสมบัติทางไฟฟ้าของสายทองแดง DSL สามารถรับส่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบจากเทคโนโลยี โมเด็ม แบบเดิมตรงที่สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ตลอดเวลา (Always on) โดยไม่จำเป็นต้องโทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการทุกครั้งและไม่นับชั่วโมงอีก ต่อไป ทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์บ้านไปพร้อมกับการใช้ อินเทอร์เน็ต ได้อีกด้วย Business Model เปลี่ยนเป็นการเก็บค่าบริการรายเดือน
นอกจากนั้นยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line) ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ให้สามารถให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศ ได้ นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสอันดีของประชาชนในประเทศที่มีทางเลือกที่ดีมากขึ้นและ เป็นการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมโดยรวมของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย อีกประการ
เทคโนโลยีไร้สายกำลังมาแรง ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่สร้างความรุ่งเรืองในวงการโทรคมนาคมสลับกับ เทคโนโลยีผ่านสายอันเป็นวฎจักรเสมอมา การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ไร้สายในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย โดยเริ่มเกิดความนิยมจากการใช้ WiFi ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไร้สายซึ่งมีความสะดวกสบายจึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
นอกจากนั้นก็ยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่รู้จักกันในนาม iPSTAR เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive ดวงแรก
นอกจากนี้ในอนาคนอันใกล้เราอาจได้ยินคำว่า WISP หรือ Wireless ISP นั่นเองซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือเราอาจเคยได้ยินในชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้น WiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างนั่นเอง หลายท่านคงนึกภาพการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน WiFi ออก WiMAX ก็แค่เพิ่มพื้นที่การครอบคลุมให้กว้างขึ้นนั่นเอง เรียกว่าเป็น สิบๆ กิโลเมตรเลยทีเดียว
ปัจจุบันมีคนไทยใช้ อินเทอร์เน็ต ประมาณ 10 ล้านคน สภาพตลาดบริการโดยรวมมีจำนวนผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการ อินเทอร์เน็ต จาก กทช. ทั้งสิ้น 59 ราย บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่ามีระดับการแข่งขันที่สูง เนื่องจากมีจำนวนผู้ให้บริการจำนวนมากใกล้เคียงลักษณะตลาดแบบ Perfect Competition ในอุดมคติและจำนวนผู้ใช้บริการก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ในตลาดบริการ อินเทอร์เน็ต ทั้งสองตลาดมีอัตราค่าบริการที่ต่างกันตามคุณภาพบริการหรืออัตราความเร็วใน การรับส่งข้อมูล กล่าวคือ ตลาดอินเทอร์เน็ต ความเร็วต่ำ (Narrow Band) จะมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่าตลาด อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง (Broad Band) โดยแนวโน้มของอัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต มีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด (สอดคล้องกับหลัการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม) ปัจจุบันอัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ความเร็วต่ำราคาค่าบริการต่ำสุด 4 บาทต่อชั่วโมง ในขณะที่อัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงอัตราค่าบริการต่ำสุดที่ 290 บาทต่อเดือน
ในรายงานศูนย์วิจัยกสิกรไทยฉบับ “52 ธุรกิจปีกุน: ต้องเร่งปรับตัว...รับเศรษฐกิจพอเพียง” ปีที่ 13 ฉบับที่ 1946 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 ประมาณว่า ตลาดไอทีไทยจะยังสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 15 มีมูลค่าตลาดประมาณ 162,717 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้
- การขยายตัวของเศรษฐกิจ ในปี 2550 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 4.0-5.0 ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยบวกหลายประการ อาทิ ความสามารถในการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจ ไทยในปีหน้า อัตราเงินเฟ้อในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาน้ำมันในประเทศก็น่าจะมีเสถียรภาพมากกว่าในปี 2549 ที่ผ่านมารวมทั้งมีความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้น่าจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้จ่ายซื้อสินค้า มากกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งการเพิ่มการลงทุนสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น
- การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในด้านไอที มูลค่าตลาดไอทีนั้นหากเทียบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แล้ว สำหรับประเทศไทยนั้นจัดว่ามีสัดส่วนค่อนข้างน้อยหรือประมาณร้อยละ 1.97 ของ GDP ในปี 2549 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.22 ในปี 2550 โดยกลุ่มที่มีการใช้จ่ายทางด้านไอทีสูงได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและโฮมออฟฟิส (SOHO) กลุ่มการศึกษา ส่วนกลุ่มราชการนั้นน่าจะมีโครงการจัดซื้อเพิ่มขึ้นหลังจากที่ในปี 2549 ได้ชะลอการจัดซื้อลง
- การเติบโตของตลาดคอมพิวเตอร์ สำหรับตลาดคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและ ยังมีโอกาสขยายตัวได้ดี ทั้งนี้เพราะฐานจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับ ต่ำ โดยในปี 2550 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณว่าตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นน่าจะมีการเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 8-10 มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็น 1.4-1.5 ล้านเครื่อง
- การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสร้างจุดขายใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น แต่ราคาเทคโนโลยีกลับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ในปี 2550 จะมีเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องจากปี 2549 โดยเฉพาะ Dual core Processor ที่จะทำให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและรองรับการ ทำงานในลักษณะมัลติมีเดียและรองรับระบบปฎิบัติการวินโดว์วิสต้า ที่จะเปิดตลาดอย่างเป็นทางการในปี 2550
ที่มา :
http://www.learners.in.th/blogs/posts/275708