ประวัติผู้จัดทำบล็อก
วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556
ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย
ปัญหาทางสายตาเป็นเรื่องใหญ่ ใครที่นั่งจ้องจอคอมฯ นานกว่า 3 ช.ม. ติดต่อกัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า สายตาจะพร่า อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล
วิธีแก้ปัญหา
1. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างอย่างน้อย 2 ฟุต ในระดับสายตาตรงหน้าพอดี
2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ๆ หน้าจอ ขนจะลุก
3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้
4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ
5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาดๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก
6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ
2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ๆ หน้าจอ ขนจะลุก
3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้
4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ
5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาดๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก
6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ
ปัญหาปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ แก้ไขโดย
1. ตั้งจอตรงหน้าพอดีไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่เอียงซ้าย หรือขวา
2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นานๆ ไหล่จะค่อยๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนานๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ
3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.
2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นานๆ ไหล่จะค่อยๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนานๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ
3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.
ปัญหาปวดหลัง แก้ไขโดย
1. ขณะนั่งทำคอมพิวเตอร์ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า ถ้าสูงเกินไปจนเท้าลอย หรือถ้าต่ำเกินไป ก้นจะจ่อมอยู่บนที่นั่ง ทำให้เมื่อยบริเวณก้นได้
2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้
3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา
4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.
2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้
3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา
4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.
ที่มา : http://www.bloggang.com/
ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ
โรคที่สามารถเกิดจากคอมพิวเตอร์ก็จะส่งผลได้ทั้งร่างกาย จิตใจ และการติดเชื้อ ดังนี้
ผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง
ดวงตา ดวงตา กล้ามเนื้อและระบบประสาท ทำให้เกิดอาการเมื่อยตา สายตาเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ คลื่นไส้ เป็นต้น โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของ โรคนี้คือ ปวดตา เมื่อยตา ตาแห้ง ถ้าอาการเป็นมากยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสายตาเสื่อมลงด้วย เนื่องจากขณะใช้คอมพิวเตอร์ดวงตาต้องจ้องมองหน้าจอที่มีตัวหนังสือหรือภาพกระพริบตลอดเวลา ทำให้กลไกตามธรรมชาติของการกระพริบตาลดน้อยลงจนเราไม่สังเกต เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตาแห้ง และหากดวงตาอยู่ในสภาพที่เหน็ดเหนื่อยหรือตาแห้ง ก็จะทำให้สายตาเสื่อมลง ทาง American Optometric Association (AOA) มีการให้คำจำกัดความของโรคหรือภัยที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผลที่เกิดกับดวงตาและการมองเห็นว่า คือโรค Computer Vision Syndrome หรือ CVS โดยมีอาการคือ ปวดเบ้าตา, ปวดต้นคอ, มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา, มีภาวะตาแห้ง, รอยตาคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา สาเหตุหลักนอกจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ แล้ว ยังสามารถเกิดได้จากการได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลตทั้งจากรังสี UV ที่ออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ หรือจากแสงแดดก็ได้ระบบประสาท จากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์ แม้ว่ารังสีชนิดต่างๆจากหน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีความปลอดภัยก็ตาม แต่การรับการแผ่รังสีเป็นเวลานานก็อาจจะส่งผลกระทบถึงระบบประสาทของมนุษย์ได้เช่นกัน จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อึดอัด และนอนไม่หลับ เป็นต้น
เสี่ยงต่อการเป็นหมัน ในวารสาร “Human Reproduction” มีรายงานที่เขียนโดย ดร.เยซิม เซย์คิน หัวหน้าทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยประจำนครนิวยอร์ก รายงานไว้ว่า คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปหรือโน๊ตบุ๊ค ที่หลายคนชอบวางทำงานไว้บนหน้าตักนั้น จะทำให้อุณหภูมิที่ลูกอัณฑะสูงขึ้นซึ่งมีผลต่อการสร้างสเปิร์มของผู้ชายทุกคนและทุกวัย ปกติแล้วลูกอัณฑะที่ใช้ผลิตเสปิร์มของผู้ชายนั้นเป็นอวัยวะที่ไวต่ออุณภูมิเป็นอย่างมาก โดยอุณภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียสก็จะลดจำนวนเสปิร์มที่แข็งแรงลงไปถึงร้อยละ 40 การวางโน๊ตบุ๊คบนตักหนึ่งชั่วโมงทำให้อุณหภูมิลูกอัณฑะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.6 ถึง 2.8 องศาเซลเซียส
โรคที่เกิดจากท่านั่งหรือการทำงานซ้ำซาก
โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือ และหลัง ผู้ที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือo ระยะแรกเป็นแล้วหายเมื่อได้พัก
o ระยะสองคือ มีอาการต่อเนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก
o ระยะสามคือ เป็นตลอดเวลาไม่หายเมื่อได้พัก
การรักษาคือ ต้องปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเองหรือถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์ และควรเล่าประวัติการทำงานเพื่อให้แพทย์ทราบสาเหตุที่แท้จริง แพทย์จึงจะรักษาเฉพาะที่ได้
อาการ Repetitive Strain Injury หรือ RSI ซึ่งสามารถเป็นได้กับทุกส่วนของร่างกายจากการนั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่ และสายตา เนื่องจากอวัยวะส่วนที่มีปัญหาถูกวางค้าง ถูกทิ้งน้ำหนัก หรือกดทับนานๆ จนอักเสบ หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น
กลุ่มอาการปวดข้อ(Carpal Tunnel Syndrome: CTS) เป็นกลุ่มอาการของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอาการของโรคกระดูกข้อมือเจ็บปวด ข้อกระดูกนิ้วมือเสื่อม และชา
สาเหตุ เกิดจากการกดแป้นพิมพ์ และการใช้เมาส์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การจับเมาส์โดยมีข้อมือเป็นจุดหมุน อาจเกิดพังผืดบริเวณข้อมือ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการชา จนไม่สามารถหยิบของได้
การรักษา หากเริ่มมีอาการอาจต้องรับประทานยาแก้ปวดและหยุดการเคลื่อนไหวโดยการพักข้อมือ อาการก็อาจทุเลาลงได้ อาการปวดจะหายไปในที่สุด หากปวดบวม ให้รับประทานยาระงับปวดและอาจต้องสวมอุปกรณ์ประคองมือ เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ หรือฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เข้าบริเวณข้อมือ เพื่อลดการอักเสบโดยตรง ส่วนในรายที่เป็นมานานอาจจำเป็นต้องผ่าตัดจึงจะได้ผลดี
โรคที่เกิดจากเชื้อโรคที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
โรคภูมิแพ้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอก โฮล์ม ในสวีเดนพบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอและคอมพิวเตอร์ สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น คัน คัดจมูก และปวดศีรษะ ผลวิจัยพบว่า เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา โดยเฉพาะหากสภาพภายในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่งQwerty Tummy (โรคที่ตั้งชื่อตามตัวอักษรชุดแรกบนแป้นคีย์บอร์ด) ซึ่งอาจระบาดในที่ทำงานได้ หากว่าแป้นคีย์บอร์ดมีแบคทีเรีย สาเหตุเกิดจากอาหารเป็นพิษ โดยผู้ใช้รับ-ประทานอาหารไปพร้อมกับใช้งานคีย์บอร์ด ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดคีย์บอร์ดเป็นประจำไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ด้วยผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำหมาดๆ อย่างน้อยเดือนละครั้งเสมอ
โรคที่เกิดจากการใช้งาน
โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) มักจะเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้กลายเป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย เช่น ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนาน ๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย หากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาทได้ จึงควรปรับเปลี่ยนลักษณะงานและพยายามควบคุมอารมณ์ตนเองเมื่อทราบดังนี้แล้วสำหรับผู้ที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นแค่ไหนก็แล้วแต่ คงต้องสอดแทรกการบริหารร่างกายเข้าไปด้วย บิดซ้ายนิด ขวาหน่อย ยืดเส้นยืดสาย จะได้ยืดอายุสุขภาพดีของเราต่อไป
การดูแลสุขภาพดวงตา กับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์
มี 5 วิธีดูแลสุขภาพ ในการทำงานหน้าจอคอมฯ ที่คุณสามารถทำตามได้ง่ายๆ เพื่อช่วยให้คุณทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
1. อย่าลืมกระพริบตา
เวลานั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ อย่าลืมกระพริบตา เพราะการพริบตาจะช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยงไม่ให้ดวงตาแห้ง หลายปัญหาเกี่ยวกับดวงตาก็เกิดจากการ นั่งหน้าจอคอมฯ นานๆ โดยไม่มีการกระพริบตา ดังนั้นอย่าลืมกระพริบตา หรือเพ่งเล็งหน้าจอคอมฯ นานเกินไป2. อย่าลืมดื่มน้ำ
เป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้วว่าน้ำนั้นมีความสำคัญกับร่างกายของคนเรา ยิ่งมีการทำงานที่ต้องใช้สมองและร่างกายด้วยแล้ว น้ำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมันจะทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย อย่างเช่น สมอง ดังนั้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นอย่าลืมดื่มน้ำกันนะจ๊ะ3. อย่าลืมว่าคุณนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง
หลายครั้งหลังจากการทำงานแล้ว หลายคนรู้สึกปวดเมื่อยร่างกายโดยเฉพาะส่วนหลังหรือต้นคอ เหตุผลส่วนหนึ่งคงหนีไม่พ้นจากการนั่งทำงานในท่าที่ผิด ตัวอย่างเช่น การนั่งเอนหลังมากเกินไป ซึ่งเป็นการนั่งไม่ถูกต้อง การนั่งในลักษณะนี้นอกจากจะทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกายแล้ว ยังลดประสิทธิภาพในการทำงานของเราด้วย ท่านั่งที่ถูกต้องคือการนั่งตัวตรง หากนั่งอยู่หน้าจอคอมฯ เพื่อพิมพ์งานต่างๆ ควรให้คีย์บอร์ดและเม้าส์อยู่ในระดับที่พอเหมาะกับแขนและมือที่ยื่นออกไป ไม่สูง ต่ำ หรือ ไกลจากตัวเรามากนัก แค่นี้ก็ช่วยไม่ให้ปวดเมื่อยได้พอสมควร4. อย่าลืมทำความสะอาด
ความสะอาดก็มีส่วนสำคัญที่ไม่ควรปล่อยปละละเลย หากคุณเห็นฝุ่นตามอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือในห้อง ควรทำความสะอาดให้หมดจดเพื่อสุขภาพที่ดีในการทำงาน เพราะฝุ่นละอองเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งเชื้อโรคหรือแบคทีเรียต่างๆ ที่จะส่งผลให้คุณมีโรคภัยไข้เจ็บได้ และที่สำคัญมันยังลดบรรยากาศการทำงานในห้องของคุณด้วย5. อย่าลืมลุกขึ้นจากเก้าอี้บ้าง
ไม่ว่าคุณจะมีเหตุผลที่ต้องทำงานหนักและต้องนั่งนานแค่ไหน ก็ไม่ควรที่จะลืมลุกขึ้นจากเก้าอี้บ้าง เดินผ่อนคลายยืดเส้นยืดสาย หรือสามารถนั่งบนเก้าอี้ไปพร้อมกับยืดเส้นยืดสายไปด้วยก็ได้ เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียน ส่งผลให้คุณมีความสามารถหรือประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น มันช่วยได้จริงๆ นะ แถมยังผ่อนคลายไม่ให้ตึงเครียดมากเกินไปได้อีกด้วย
ที่มา : http://baanstyle.com/
อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์
นอกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์แล้ว ในทางตรงกันข้ามก็มีโทษต่อสุขภาพอย่างร้ายกาจเช่นกัน การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำให้ระบบประสาทเสื่อมและเกิดโรคเครียด ภาพและตัวอักษรที่เคลื่อนไหวอยู่หน้าจอนั้น มีโทษต่อสายตา และการใช้เครื่องอาจทำให้ปวดเอวและหัวไหล่ได้อีกด้วย
ถึง แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะมีโทษอย่างไร เราก็ต้องใช้มันต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จึงเสนอว่าผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บ่อยๆ ควรใส่ใจกับการกินอาหารที่บำรุงสุขภาพให้แข็งแรง และป้องกันโรคต่างๆ ได้เช่น
+ อาหารกลางวัน ควรเลือกอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ ปลา และถั่ว
+ อาหารเย็น ควรเป็นอาหารเบา และรสจืด ซึ่งกินผักเหมาะที่สุด
นอกจากนี้ ยังควรกินอาหารบำรุงสมองและประสาทตา ได้แก่ ปลา กุ้ง ไข่ จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง
ส่วนอาหารที่บำรุงประสาทตา ได้แก่ ผักบุ้ง ฟักทอง ตับ ไข่ นม ผัก มะเขือเทศ นอกจากการรับประทานอาหารบำรุงร่างกายแล้ว
สิ่งที่เราควรทำอีกอย่างหนึ่งคือ ... หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ และควรดื่มน้ำมากๆ เมื่อเป็นสาวไอทีเต็มรูปแบบก็ควรดูแลตัวเองด้วยนะ
ที่มา:http://learning.eduzones.com/offy/4934
ถึง แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะมีโทษอย่างไร เราก็ต้องใช้มันต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จึงเสนอว่าผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บ่อยๆ ควรใส่ใจกับการกินอาหารที่บำรุงสุขภาพให้แข็งแรง และป้องกันโรคต่างๆ ได้เช่น
+ อาหารกลางวัน ควรเลือกอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ ปลา และถั่ว
+ อาหารเย็น ควรเป็นอาหารเบา และรสจืด ซึ่งกินผักเหมาะที่สุด
นอกจากนี้ ยังควรกินอาหารบำรุงสมองและประสาทตา ได้แก่ ปลา กุ้ง ไข่ จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง
ส่วนอาหารที่บำรุงประสาทตา ได้แก่ ผักบุ้ง ฟักทอง ตับ ไข่ นม ผัก มะเขือเทศ นอกจากการรับประทานอาหารบำรุงร่างกายแล้ว
สิ่งที่เราควรทำอีกอย่างหนึ่งคือ ... หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ และควรดื่มน้ำมากๆ เมื่อเป็นสาวไอทีเต็มรูปแบบก็ควรดูแลตัวเองด้วยนะ
ที่มา:http://learning.eduzones.com/offy/4934
การออกกำลังกายและบริหารร่างกายสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์
2. ท่าบริหารกล้ามเนื้อแขน ให้เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้าโดยให้มือประสานกัน
3. ท่าบริหารกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือ โดยยืดแขนออกไปข้างหน้า โดยให้มือชี้ลง พร้อมทั้งดัดนิ้วมือไปทางด้านหลัง โดยให้ทำสลับกันทั้งซ้ายและขวา อย่างน้อย 20 วินาที
4. ท่าบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยการยืนตัวตรง เอามือซ้ายจับบนศีรษะด้านขวา พร้อมโน้มคอไปทางด้านเดียวกับที่มือจับศีรษะอยู่ ทำสลับไปมา ซ้ายขวา
ป้องกันอาการปวด จากผลกระทบของการเล่นเกมและใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ 4 ท่า ดังนี้
1. ท่าบริหารและผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง ท่านี้ควรให้เด็ก ๆ ยืนหรือนั่งให้หลังตรง แล้วเหยียดแขนทั้งสองข้างขึ้นด้านบน ประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน แล้วหงายมือออก2. ท่าบริหารกล้ามเนื้อแขน ให้เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้าโดยให้มือประสานกัน
3. ท่าบริหารกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือ โดยยืดแขนออกไปข้างหน้า โดยให้มือชี้ลง พร้อมทั้งดัดนิ้วมือไปทางด้านหลัง โดยให้ทำสลับกันทั้งซ้ายและขวา อย่างน้อย 20 วินาที
4. ท่าบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยการยืนตัวตรง เอามือซ้ายจับบนศีรษะด้านขวา พร้อมโน้มคอไปทางด้านเดียวกับที่มือจับศีรษะอยู่ ทำสลับไปมา ซ้ายขวา
ที่มา : http://women.thaiza.com/
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Search engine
วิธีการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ด้วยการใช้ Search EngineSearch Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อ ๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการ Search Engine
1. การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด ใช้ในกรณีที่ต้องการค้นข้อมูลโดยใช้คำที่มีความหมายตรงกับความต้องการ โดยมากจะนิยมใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องที่จะสืบค้นข้อมูล มีวิธีการค้นหาได้ดังนี้ 1.1 เปิดเว็บเพจ ที่ให้บริการในการสืบค้นข้อมูล ตัวอย่างเช่น www.google.co.th เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นข้อมูลของต่างประเทศ ข้อดีคือ ค้นหาง่าย เร็ว www.yahoo.com เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นที่ดีตัวหนึ่งซึ่งค้นหาข้อมูลง่าย และข้อเด่นคือภายในเว็บของ www.yahoo.com เองจะมีฟรีเว็บไซต์ ที่รู้จักกันในนาม http://www.geocities.com ซึ่งมีจำนวนเว็บมากมาย ให้ค้นหาข้อมูลเองโดยเฉพาะ www.sanook.com เป็นเว็บของคนไทย www.siamguru.com เป็นเว็บของคนไทย โดยพิมพ์ช่องเว็บที่ช่อง Address ดังตัวอย่างซึ่งใช้ www.google.co.th 1.2 ที่ช่อง ค้นหา พิมพ์ข้อความต้องการจะค้นหา ในตัวอย่างจะพิมพ์คำว่า แหล่งท่องเที่ยวเมืองโคราช 1.3 คลิกปุ่ม ค้นหาด้วย Google 1.4 จากนั้นจะปรากฏรายชื่อของเว็บที่มีข้อมูล 1.5 คลิกเว็บที่จะเรียกดูข้อมูล 2. หลักการใช้คำในการค้นหาข้อมูล การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด เช่น ถ้าต้องการจะสืบค้นเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์ การค้นหาจึงต้องการเนื้อหาที่เจาะลึก การสร้างคำคีย์เวิร์ด ต้องใช้คำที่เจาะลึกลงไปเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เฉพาะคำมากยิ่งขึ้น 2.1 การใช้คำที่คิดว่าจะมีในเว็บที่ต้องการจะค้นหา เช่น ต้องการจะหาข้อมูลเกี่ยวกับ บุคคล ที่ชื่อว่า นาย อุบล ถ้าเราพิมพ์ข้อมูลที่ช่อง Search ว่า อุบล แล้วทำการค้นข้อมูล Search Engine จะทำการค้นหาคำ โดยจะค้นหารวมทั้งคำว่า จังหวัดอุบล อุบลราชธานี คนอุบล วิทยาลัยเกษตรอุบล เทคโนโลยีอุบล ซึ่งเราจะเจอะ ข้อมูลจำนวนมาก ดังนั้นการใช้คำในการค้นหาข้อมูลจึงต้องใช้คำเฉพาะเพื่อให้ได้ข้อมูล ที่น้อยลง เช่น อาจจะพิมพ์คำว่า นาย อุบล พิมลวรรณ ซึ่งข้อมูลจะมีจำนวนที่น้อยลง ตัวอย่าง พิมพ์ข้อมูลที่ช่อง Search ว่า อุบล ตัวอย่าง พิมพ์ข้อมูล อุบล พิมลวรรณ 2.2 ใช้เครื่องหมาย คำพูด (“ _ ”) เพื่อกำหนดให้เป็นกลุ่มคำ เช่น จะค้นหาคำ ชื่อหนังสื่อที่ชื่อว่า โปรแกรม PhotoShop สังเกตว่าคำที่จะค้นหา จะเป็นคำที่ต้องเว้นวรรค แต่เมื่อมีการสืบค้นด้วย Search Engine ระบบจะค้นหาคำแบ่งเป็นสองคำ คือคำว่า โปรแกรม และคำว่า PhotoShop จึงทำให้ข้อมูลที่ได้ผิดพลาด ดังนั้นการสร้างคำ จึงต้องกำหนดคำด้วยเครื่องหมายคำพูด จึงใช้คำว่า “โปรแกรม PhotoShop” ในการค้นหาแทน 2.3ใช้เครื่องหมาย ลบ (-) ไว้หน้าคำที่ไม่ต้องการจะให้ปรากฏอยู่ในรายการแสดงผลของการค้นหา เช่น ต้องการหาชื่อโรงเรียน แต่ทราบแล้วว่าโรงเรียนที่จะค้นหาไม่ใช้โรงเรียนอนุบาล จึงต้องยกเลิกคำว่าอนุบาล โดยพิมพ์คำว่า โรงเรียน -อนุบาล ผลที่ได้จะทำให้มีเฉพาะคำว่า โรงเรียน ทั้งหมดแต่จะค้นหาคำว่า อนุบาล (*การพิมพ์เครื่องหมาย ลบกับคำที่จะยกเลิกต้องติดกัน มิฉะนั้นระบบจะเข้าใจว่าจะค้นหาคำ 3 คำ คือ คำว่า โรงเรียน คำว่า + และคำว่า อนุบาล*) http://www.google.com http://search.yahoo.com http://search.msn.co.in http://www.look.com http://www.dmoz.org http://www.altavista.com http://www.alexa.com http://www.aesop.com http://theyellowpages.com http://www.goguides.org http://www.netsearch.org http://www.entireweb.com http://www.exactseek.com |
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและSocial Network
ความปลอดภัยในการใช้อินเตอร์เน็ต
ปัจจุบันการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์อย่างมาก จึงทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างแพร่หลาย บุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ตจึงมีหลายจุดประสงค์ ทั้งใช้งานในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และการใช้งานที่เป็นผลร้ายต่อบุคคลอื่น เพื่อจะได้ปลอดภัย จากภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต จึงควรศึกษาคู่มือวิธีการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างระเอียด และปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยในการใช้อินเตอร์เน็ต (ข้อความจากเวบไซต์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)1. เมื่อเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ควรปรึกษาผู้ใหญ่เกี่ยวกับแนวทางในการใช้ในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวัน และเมื่อผู้ใช้มีความรู้ และคุ้นเคยในการใช้งานจริงบ้างแล้ว จึงค่อยปรับเปลี่ยนแนวทางในใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมต่อไป และควรเขียนแนวทางในการใช้อินเทอร์เน็ตติดไว้ใกล้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อความสะดวกในการจัดระบบการใช้อินเทอร์เน็ต
2. อย่าให้รหัสลับแก่ผู้อื่น
3. ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ ทุกครั้งที่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต
4. ตรวจทานว่าได้พิมพ์ชื่อเว็บไซด์ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงกด Enter เพื่อจะได้เข้าเว็บไซด์ที่ต้องการได้ถูกต้อง
5. ปรึกษาผู้ใหญ่ ก่อนเข้าใช้ห้องสนทนาบนอิน เทอร์เน็ต เพราะว่าห้องสนทนาแต่ละห้องมีการสนทนาที่แตกต่างกัน บางห้องอาจไม่เหมาะสม
6. ถ้าพบเห็นข้อความ หรือสิ่งใด ที่ไม่เหมาะสม หรือ คิดว่าไม่ดีต่อการใช้อินเทอร์เน็ต ควรออกจากเว็บไซด์นั้น และแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบทันที
7. อย่าส่งรูปภาพของตนเอง หรือรูปภาพของผู้อื่น ให้คนอื่นทางอีเมลล์ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่เสียก่อน
8. ถ้าได้รับอีเมลล์ที่มีข้อความไม่เหมาะสมหรือทำให้ไม่สบายใจ ไม่ควรโต้ตอบ และควรบอกให้ผู้ใหญ่ทราบก่อนทันที
9. บนอินเทอร์เน็ต ทุกอย่างที่คุณเห็นไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป
10. อย่าบอกอายุจริงของคุณกับคนอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษาผู้ใหญ่ก่อน
11. อย่าบอกชื่อจริง และนามสกุลจริงกับบุคคลอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษา และขออนุญาตผู้ใหญ่ก่อน
12. อย่าบอกที่อยู่ ของคุณกับบุคคลอื่น
13. ปรึกษาผู้ใหญ่ก่อนทุกครั้งที่จะทำการลงทะเบียนใด ๆ บนอินเทอร์เน็ต
14. อย่าให้หมายเลขของบัตรเครดิตการ์ดของคุณกับบุคคลอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษาผู้ใหญ่ก่อน
15. ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรา คุณสามารถทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ต้องการได้
16. อย่าเปิดเอกสารหรืออีเมลล์หรือไฟล์ จากบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก เพราะอาจมีไวรัส หรือข้อมูลไม่เหมาะสม มากับเอกสารหรืออีเมลล์นั้น
17. ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่สะดวกในการดูแลเอาใจใส่ เช่น ห้องนั่งเล่น หรือ ห้องส่วนรวม
18. อย่าตัดสินใจที่จะไปพบบุคคลอื่นซึ่งรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ และถ้ามีการนัดพบกันไม่ควรไปเพียงลำพัง ควรมีผู้ใหญ่หรือคนที่รู้จักหรือเพื่อนไปด้วย และควรนัดพบกันในที่สาธารณะ
19. บนอินเทอร์เน็ตข้อมูลต่าง ๆ ที่เราพิมพ์ลงไป บุคคลอื่นที่เราไม่รู้จักสามารถล่วงรู้ได้ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง
20. อย่าบอกเบอร์โทรศัพท์ของคุณกับบุคคลอื่น ในอินเทอร์เน็ต
21. พูดคุยกับผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับสถานที่ กิจกรรม และสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็น บนอินเทอร์เน็ตที่ได้พบเห็น ระหว่างการใช้อินเทอร์เน็ต
22. ใช้ชื่อที่ต่างจากชื่อจริง และชื่อเล่นของตัวเองเพื่อใช้แทนตัวเอง ในขณะใช้อินเทอร์เน็ต
23. ควรปรึกษาผู้ใหญ่ ถ้าต้องการที่จะให้อีเมลล์แอดเดรสกับบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต
24. ถ้ามีบุคคลอื่นที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป ไม่ควรให้ข้อมูล และควรหยุดการสนทนานั้น
25. อย่าบอกชื่อ ที่อยู่ของโรงเรียนของคุณ กับบุคคลอื่นบนอินเทอร์เน็ต
26. ขณะใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรเชื่อคำพูดหรือข้อมูลของบุคคลอื่น เพราะการปลอมตัวทำได้ง่าย และอาจไม่เป็นความจริง
27. อย่าทำสิ่งผิดกฎหมายบนอินเตอร์เน็ต เช่น ถ้าไม่เคยใช้บัตรเครดิต ก็ไม่ควรกรอกข้อมูลในการซื้อของ โดยใช้บัตรเครดิต บนอินเทอร์เน็ต
28. เมื่อมีใครบางคนให้เงินหรือของขวัญ ฟรี ๆ กับคุณ ควรบอกปฏิเสธ และบอกให้ผู้ใหญ่ทราบทันที
29. อย่าใช้คำไม่สุภาพ ขณะใช้อินเทอร์เน็ต
30. คุณสามารถออกจากอินเทอร์ได้ด้วยตัวเอง ถ้าไม่ต้องการใช้อินเทอร์เน็ต
การ ใช้งานอินเตอร์เน็ตนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่, Business Center ของโรงแรม หรือสถานที่ใดๆ ที่ให้บริการ สิ่งหนึ่งที่พบก็คือการขาดความดูแลในเรื่องของการให้บริการ security สำหรับส่วนของลูกค้า ดังนั้นเราในฐานะผู้ใช้งานคงจำเป็นต้องดูแล เรื่องข้อมูลของเราด้วยตัวเอง โดยเฉพาะรหัสผ่านในการเข้าถึงเมล์ของเรา
การใช้ Social network ความปฏิบัติดังนี้
(1) ปกปิดเรื่องส่วนตัว เช่น ญาติมิตร สิ่งที่รัก คนที่รักชอบ หรือกิจกรรมที่กระทำ ไว้บ้าง อย่าบอกทุกเรื่อง การเปิดโล่งบัญชี Facebook ถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างยิ่ง(2) อย่าเปิด/อนุญาติ แอปพิเคชั่นที่เราไม่แน่ใจ เพราะใน Social Network มักจะเชื่อมต่อในหลากหลายผลให้สามารถล่วงรู้กลุ่มบุคคลใดที่ติดต่อเรา รู้กิจกรรมทั้งหมดที่เราทำบน Social Network
(3) ให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกันโดยไม่มีประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้า ไม่นานมานี้ก็เพิ่งจะมีคุณสมบัติที่ติดตามการชอปปิงของผู้ใช้แล้วเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้รู้กันทั่วกัน
(4) ผู้ใช้ต้องมีวิจารณญาณที่เหมาะสม เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ได้พอสมควร สำหรับมือใหม่เพิ่งหัดใช้ ต้องเข้าไปตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้ที่ Privacy Settings จากเมนู Settings ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนรายละเอียดในการเผยแพร่ภาพถ่าย ข้อความ ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการทำงานได้
(5) ศึกษาข้อมูลและอ่านวิธีการใช้งานให้แน่ชัด หรือสอบถามจากผู้รู้ที่เชื่อถือได้ถึงข้อดีข้อเสียของ Social Network นั้นก่อนที่จะใช้งาน
สุดท้ายนี้ผู้ใช้ Social Network ต้องเก็บเรื่องราวให้เป็นความลับ คิดหลาย ๆ ครั้งก่อนที่คุณจะเริ่มโพสต์เนื้อหาหรือรูปภาพต่างๆ อย่าลืมตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ระบุว่าใครบ้างที่สามารถเข้ามาดูอัลบั้มภาพถ่าย วิดีโอ โพรไฟล์ สถานะการอัพเดต และอีกสารพันข้อมูลเกี่ยวกับตัวของคุณได้บ้าง คิดก่อนรับคนที่ไม่รู้จักเป็นเพื่อนการค้นหาว่าใครบ้างที่อยู่ในรายชื่อคอนแทกต์บนอีเมล์ของคุณกำลังใช้ Social Network อยู่เป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ก่อนที่จะรับคนเหล่านั้นให้เป็นเพื่อนกับคุณบน Social Network อย่าลืมพิจารณาให้รอบคอบด้วย
สปายแวร์คอมพิวเตอร์ (Spyware)
สปายแวร์ ก็คือ โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเวบไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเวบประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง
สปายแวร์พวกนี้มาติดเครื่องคุณอย่างไร?
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ไม่เคยดูแลเครื่องของตัวเองเลย ไม่เคยป้องกัน ไม่เคยบำรุงรักษา ก็มักเกิดปัญหา เอาง่าย ๆ เหมือนการขับรถก็ต้องคอยดูแลรักษา ทำความสะอาด เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ฯลฯ แต่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะไม่รู้จักการบำรุงรักษาตรงนี้ ก็เลยต้องมานั่งกลุ้มใจ พวกสปายแวร์จะติดได้หลายทางแต่หลัก ๆ คือ เข้าเยี่ยมเวบไซท์ต่าง ๆ พอเวบไซท์บอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรมก็ดาวน์โหลดตามที่เขาบอกโดยไม่อ่านว่าเป็นอะไรดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีที่เรียกว่า Freeware มาใช้ โปรแกรมฟรีนั้นมีใช้ก็ดี แต่ก็ควรดูให้ดีเพราะโปรแกรมฟรีหลายตัวจะมีสปายแวร์ติดมาด้วยเป็นของแถม ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Kazaa Media Desktop ซึ่งเป็นโปรแกรมให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนไฟล์กันเหมือนกับโปรแกรม Napster ขณะนี้มีผู้ใช้โปรแกรม Kazaa เป็นล้าน ๆ คน เพราะสามารถใช้ดาวน์โหลดเพลง MP3 ฟรีได้ ซึ่ง Kazaa นั้น จะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบใช้ฟรี กับแบบเสียเงิน ถ้าเป็นแบบฟรี เขาจะแถมสปายแวร์มาด้วยกว่า 10 ตัว ..คิดดูแล้วกันว่าคุ้มไม๊
เปิดโปรแกรมที่ส่งมากับอีเมล์ บางทีเพื่อนส่งอีเมล์มาให้พร้อมโปรแกรมสวยงาม ซึ่งเพื่อนเองก็ไม่รู้ว่ามีสปายแวร์อยู่ด้วย ก็ส่งต่อ ๆ กันไปสนุกสนาน เวลาใช้อินเตอร์เน็ทก็เลยมีหน้าต่างโฆษณาโผล่มา 80 หน้าต่างสมใจ
ทันทีที่ Spyware เข้ามาอยู่ในเครื่องเรา มันก็จะสำแดงลักษณะพิเศษของโปรแกรมออกมา คือ นำเสนอหน้าเว็บโฆษณาเชิญชวนให้คลิกทุกครั้งที่เราออนไลน์อินเทอร์เน็ต โดยมาในรูปต่างๆ กัน ดังนี้
มี Pop up ขึ้นมาบ่อยครั้งที่เข้าเว็บ
ทูลบาร์มีแถบปุ่มเครื่องมือเพิ่มขึ้น
หน้า Desktop มีไอคอนประหลาดๆ เพิ่มขึ้น
เมื่อเปิด Internet Explorer หน้าเว็บแรกที่พบแสดงเว็บอะไรก็ไม่รู้ ไม่เคยเห็นมาก่อน
เว็บใดที่เราไม่สามารถเข้าได้ หน้าเว็บโฆษณาของ Spyware จะมาแทนที่
วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากสปายแวร์
ติดตั้งโปรแกรม Anti-Spyware ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ Anti-Spyware สามารถตรวจสอบค้นหาสิ่งแปลกปลอม (Spyware) ที่จะเข้าฝั่งตัวอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรม Anti-Spyware จะทำหน้าที่ตรวจสอบเป็นลักษณะเรียลไทม์เมื่อ Anti-Spyware ตรวจพบสปายแวร์ก็จะทำการเตือนให้ผู้ใช้ทราบและทำการลบสปายแวร์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทันที
ไม่ดาว์นโหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ควรจะดาว์นโหลดจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งและพบหน้าจอตามตัวอย่างรูปต่อไปนี้ให้พิจารณาอ่านข้อความเพื่อตรวจสอบว่าระบุเงื่อนไขการใช้งานอย่างไรก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ต่อไปหรือหากไม่แน่ใจว่าคืออะไรให้ทำการปิดหน้าจอเหล่านั้นโดยทันที (คลิกที่เครื่องหมาย x กากบาท)
ไม่ดาว์นโหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ควรจะดาว์นโหลดจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งและพบหน้าจอตามตัวอย่างรูปต่อไปนี้ให้พิจารณาอ่านข้อความเพื่อตรวจสอบว่าระบุเงื่อนไขการใช้งานอย่างไรก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ต่อไปหรือหากไม่แน่ใจว่าคืออะไรให้ทำการปิดหน้าจอเหล่านั้นโดยทันที (คลิกที่เครื่องหมาย x กากบาท)
ม้าโทรจันคอมพิวเตอร์ (Trojan)
คือ โปรแกรมที่ซ่อนตัวอยู่ในฮาร์ดดิสก์ด้วยฝีมือของแฮคเกอร์ ที่อาจส่งโค้ดแฝงมากับไฟล์แนบท้ายอีเมล การทำงานของโทรจันก็เหมือนกับเรื่องเล่าของกรีก ที่ว่าด้วยกลอุบายซ่อนทหารไว้ในม้าไม้ขนาดใหญ่ และนำไปมอบให้กับชาวเมืองทรอย (Trojans) พอตกกลางคืน ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ก็ลอบออกมาเปิดประตูเมืองให้พวกของตนบุกเข้าตีเมืองทรอยได้อย่างง่ายดาย เปรียบได้กับแฮคเกอร์ที่ส่งโปรแกรมลึกลับ (ม้าโทรจัน) มาคอยดักเก็บข้อมูลในพีซีของคุณ แล้วส่งออกไปโดยที่คุณไม่รู้ตัวนั่นเอง
ม้าโทรจันในคอมพิวเตอร์ทํางานอย่างไร
อย่างที่กล่าวแล้วว่า ม้าโทรจันแตกต่างจากไวรัสที่การทํางาน ไวรัสทํางานโดย ทําลายคอมพิวเตอร์ ทั้งฮารดแวร์และซอฟตแวร์อย่างแท้จริง ไวรัสบางตัวอย่าง Love BUG ทําลายไฟล์โดยการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในไฟล์ ไวรัส CIH ทําให้ไบออสของคอมพิวเตอร์เสีย และเข้าถึงข้อมูลในฮารดดิสกไม่ได้ แต่”ม้าโทรจัน” ไม่ทําอะไรกับคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันไม่มีคําสั่งหรือพฤติกรรมการทําลายคอมพิวเตอร์เหมือนไวรัส ม้าโทรจันเหมือนโปรแกรมทั่วไปในคอมพิวเตอร์ สมัยก่อนเวลาพูดถึงม้าโทรจัน จะว่ากันว่าขนาดของไฟล์ แตกตางจากไวรัสที่ขนาดของม้าโทรจันนั้น เป็นโปรแกรมขนาดเล็ก และเป็นโปรแกรมที่ไม่ถือวามีพฤติกรรมเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งในทางการกําจัดไวรัส จะมีการตรวจสอบโดยการดูลักษณะการทํางาน ไวรัสนั้นมีคําสั่งอันตราย แต่โทรจันไม่มี ดังนั้นโปรแกรมตรวจสอบไวรัสไม่มีทางที่จะตรวจสอบหา “ม้าโทรจัน” พบ ม้าโทรจันนั้นเป็นเครื่องมือของแฮคเกอร์ในการเจาะระบบ ว่ากันว่าบรรดาแฮคเกอร์นั้นมีสังคมเฉพาะที่แจกจ่าย เผยแพ่รม้าโทรจันออกไปใช้งาน
โดยส่วนใหญม้าโทรจันซึ่งปัจจุบันมีอยู่นับพันโปรแกรม ถูกพัฒนาโดยพวกนักศึกษา แฮคเกอร์ และมือสมัครเล่นอีกหลายคน เพราะม้าโทรจันนั้นคือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อบันทึกว่าแป้นคีย์บอร์ดแป้นไหนถูกกดบ้าง ด้วยวิธีการนี้ก็จะได้ข้อมูลของ User ID, Password หลังจากนั้นโปรแกรมม้าโทรจันจะบันทึกข้อมูลลงไปใน RAM , CMOS หรือ Hidden Directory ในฮารดดิสก์ แล้วก็หาโอกาสที่จะอัพโหลดตัวเองไปยังแหล่งที่ผู้เขียนม้าโทรจันกําหนด หรือบางทีแฮคเกอรอาจจะใช้วิธีการเก็บไฟล์ดังกล่าวไปด้วยวิธีอื่น การใช้อินเตอรเน็ต ใช้โมเด็ม หรือใช้ LAN อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นยุคของอินเตอรเน็ต ขนาดของโปรแกรมม้าโทรจันนั้นใหญ่ขึ้น และClient / server ม้าโทรจันแบบนี้จะส่งจากเซิรฟเวอร์ไปไว้ที่ไคลเอ็นต์ โดยสั่งเปิด พอร์ตที่ไคลเอ็นท์แล้วให้เครื่องไคลเอ็นต์อีกเครื่องไปควบคุม DDOS Distributed Denial of Service แฮคเกอร์จะส่งโทรจันไปไว้ที่เครื่องไคลเอ็นต์หลายๆ เครื่อง หลังจากนั้นจะใช้เครื่องไคลเอนต์เหล่านั้นโจมตีเว็บไซต์เป้าหมายพร้อมๆกันเพื่อให้หยุดบริการ โทรจันประเภทนี้ทํางานเหมือนไวรัสคือ พยายามทําลายไฟล์ระบบของเครื่อง
จนกระทั่งบูตไม่ได้ FTP โทรจันแบบนี้ทําให้ไดร์ฟ C สามารถใช้คําสั่ง FTP ได้ ข้อมูลในไดร์ฟ C จะถูกดูด ออกไปด้วย IRC Internet Relay Chat ทําให้เปิด Connection กับ Chat Server หลายๆตัว Keylogger ทําหน้าที่บันทึกแป้นคียบอรด์ที่ถูกคีย์ลงไปขณะที่เราใช้คอมพิวเตอร์ การบันทึกนั้นรวมถึงรหัสผ่าน User Name และทุกๆคียที่ถูกกดผ่านคียบอรด์ Password Stealer ตัวขโมยรหัสผ่าน โดยขโมยรหัสผ่านของ ICQ , e-mail , ระบบคอมพิวเตอร์ ,การต่อเชื่อม ISP แล้วเก็บรหัสผ่านนั้นไว้ในไฟล์หนึ่ง แล้วเอาม้าโทรจันอีกตัวมาอัพโหลดไฟล์นั้นไปยังปลายทาง Remote Flooder ทํางานเหมือนกับ DDOS คือส่งโทรจันไปที่เครื่องปลายทาง (รีโมท) แล้วสั่งจากเครื่องมาสเตอร์ให้เครื่องปลายทาง (รีโมท) โจมตีเป้าหมายอีกทีหนึ่ง Telnet ม้าโทรจันตัวนี้จะยึดเครื่องรีโมทเป็นอาวุธโจมตีเครื่องปลายทาง โดยผ่าน Telnet ใช้คําร้องขอบริการ Telnet เพื่อจัดการกับเครื่องเหยื่อเป้าหมาย เหมือน DDOS อีกตัว VBS ตัวนี้เป็นโทรจันที่อันตราย เพราะมันอาจจะซ่อนตัวในเว็บไซต์ รอโจมตี เครื่องเป้าหมาย แล้วหลังจากนั้นก็เผยแพ่รผ่าน e-mail Outlook Express เพื่อโจมตีหรือกระจาย ไวรัสต่อไป นอกจากนี้ VB ยังมีอันตรายอย่างมากด้วย เพราะสามารถใช้คําสั่งในการรันคําสั่งอื่นเพื่อทําลายระบบ หรือเปลี่ยนไฟล์ได้
ที่มา : http://jjoracle.wordpress.com/
หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)
หนอนคอมพิวเตอร์จะสำเนาตัวเองและจะส่งผลต่อคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว มี 3 ทางใหญ่ๆ ด้วยกันที่ทำให้หนอนคอมพิวเตอร์เข้ามาในคอมพิวเตอร์ของเราได้ ก็คือ
1. ผ่านระบบอีเมล์ โดยจะมากับไฟล์ที่ติดมากับเมล์หรือข้อความที่อยู่ในจดหมาย เมื่อผู้ใช้เปิดจดหมายหรือไฟล์ ตัวหนอนนี้ก็จะติดตั้งตัวมันเองลงในระบบแบบเงียบ ซึ่งผู้ใช้ไม่สามารถทราบหรือรู้สึกได้เลยว่ามีหนอนเข้ามาอยู่ในคอมพิวเตอร์แล้ว เพราะการติดตั้งของตัวหนอนนี้ไม่เหมือนกับการติดตั้งโปรแกรรมโดยทั่วไป คือ จะไม่มี Dialog box , setup wizard หรือ คำเตือนใดๆ ขึ้น
2. จะแพร่กระจายเข้าคอมพิวเตอร์ที่อ่อนแอในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการกระจายเข้าในระบบปฏิบัติการและติดตั้งซอฟแวร์ที่ไม่มีความปลอดภัยลงในคอมพิวเตอร์
3. ผ่านทางโปรแกรมสนทนาบนเว็บ ( instant messag ) หรือเข้ามาขณะมีการดาวน์โหลดไฟล์ที่ใช้ร่วมกันบนเครือข่าย หรือเครือข่ายที่ใช้ร่วมกันโดยไม่มีระบบการป้องกัน
วิธีการป้องกันคอมพิวเตอร์ไม่ให้ติดไวรัสและหนอนคอมพิวเตอร์
1. ติดตั้งซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ โดยซอฟท์แวร์ไวรัสนี้จะทำหน้าที่สแกนและตรวจจับโปรแกรมที่มีชื่อตรงกับฐานข้อมูลรายชื่อไวรัสที่ซอฟท์แวร์บรรจุอยู่ รวมถึงไฟล์แนบที่มากับอีเมล์ซึ่งดูไม่ปลอดภัย และเครื่องหมายเตือนภัยอื่นๆ ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการป้องกนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยจากไวรัส2. ไม่ควรเปิดไฟล์แนบโดยอัตโนมัติ หลีกเลี่ยงการตั้งค่าในโปรแกรมอีเมล์ให้ดาวน์โหลดไฟล์โดยอัโนมัติ เพื่อจะได้ตรวจสอบและสแกนไฟล์แนบให้เรียนร้อยก่อนการดาวน์โหลด
3. ห้ามเปิดอีเมล์ที่มีชื่อหัวข้อที่มีแรงจูงใจ เช่น ภาพเด็ด รหัสผ่าน เป็นต้น
4. ลบอีเมล์ที่ไม่แน่ใจทิ้งทันทีเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาหรือหลีกเลี่ยงการติดไวรัส
5. ห้ามดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซด์ และไม่ควรดาวน์โหลดไฟล์ที่ไม่มั่นใจว่าปลอดภัยหรือไม่ รวมทั้งฟรีแวร์โปรแกรมรักษาจอภาพ เกมส์ และโปรแกรมที่มักจะลงท้ายด้วย.exe หรือ .com อาทิเช่น coolgame.exe ถ้าจำเป็นที่จะต้องดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ควรสแกนทุกโปรแกรมก่อนการนำไปใช้งาน
6. หมั่นอัพเดทซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัส (virus definition) อย่างสม่ำเสมอ
7. ใช้วิจารณญาณของตนเอง ถ้ารู้สึกว่าไฟล์นั้นดูน่าสงสัยหรือไม่ชอบมาพากล ก็ควรลบไฟล์นั้นทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไฟล์นั้นมาจากแหล่งที่ดูไม่น่าไว้วางใจ
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus)
การให้บริการของ Google
นิยาม คำนิยามต่อไปนี้จะใช้กับ SLA ของ Google Apps
"การหยุดทำงาน" สำหรับโดเมน หมายถึงกรณีที่มีอัตราข้อผิดพลาดของผู้ใช้มากกว่าห้าเปอร์เซ็นต์ การหยุดทำงานจะวัดจากอัตราข้อผิดพลาดฝั่งเซิร์ฟเวอร์
"บริการที่ครอบคลุมของ Google Apps" หมายถึงองค์ประกอบของบริการ Gmail, Google ปฏิทิน, Google Talk, Google เอกสารและไดรฟ์, Google Groups, Google Sites และ Google Apps ห้องนิรภัย ทั้งนี้ไม่รวมฟังก์ชันของ Gmail Labs, ตลอดจนองค์ประกอบ Google Apps – Postini Services, Gmail Voice หรือวิดีโอแชทของบริการ
"เปอร์เซ็นต์เวลาทำงานรายเดือน" หมายถึงจำนวนนาทีในเดือนตามปฏิทินลบด้วยจำนวนนาทีของการหยุดทำงานที่เกิดขึ้นในเดือนตามปฏิทินนั้น หารด้วยจำนวนนาทีทั้งหมดในเดือนตามปฏิทินนั้น
"บริการ" หมายถึงบริการของ Google Apps for Business (หรือเรียกอีกอย่างว่า Google Apps Premier Edition), บริการของ Google Apps for Government, บริการของ Google Apps for ISPs (เรียกอีกอย่างว่า Google Apps Partner Edition), บริการของ Google Apps for Education (เรียกอีกอย่างว่า Google Apps Education Edition) หรือ Google Apps ห้องนิรภัย (ในกรณีที่มี) ซึ่งให้บริการโดย Google แก่ลูกค้าตามข้อตกลงนี้
"เครดิตบริการ" หมายถึงสิ่งต่อไปนี้:
เปอร์เซ็นต์การทำงานรายเดือน | จำนวนวันของบริการที่เพิ่มให้เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของบริการ (หรือเครดิตเป็นมูลค่าเงินเทียบเท่ากับมูลค่าของวันให้บริการสำหรับลูกค้าที่เรียกเก็บเงินภายหลังแบบรายเดือน) โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า |
< 99.9% - >= 99.0% | 3 |
< 99.0% - >= 95.0% | 7 |
< 95.0% | 15 |
ลูกค้าต้องขอรับเครดิตบริการ
เพื่อที่จะรับเครดิตบริการที่ระบุข้างต้น ลูกค้าต้องแจ้งแก่ Google ภายในสามสิบวันนับจากเวลาที่ลูกค้ามีสิทธิ์รับเครดิตบริการ หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้จะทำให้ลูกค้าไม่มีสิทธิ์ได้รับเครดิตบริการ
เครดิตบริการสูงสุด
เครดิตบริการสูงสุด
จำนวนเครดิตบริการสะสมสูงสุดที่จะออกโดย Google ให้แก่ลูกค้าสำหรับเวลาหยุดทำงานซึ่งเกิดขึ้นในเดือนตามปฏิทินเดือนเดียว จะไม่เกินสิบห้าวันบริการ ซึ่งจะเพิ่มต่อท้ายระยะเวลาบริการ (หรือมูลค่าของ 15 วันบริการในรูปของเครดิตเงินในบัญชีของลูกค้าที่เรียกเก็บเงินรายเดือน) เครดิตบริการนี้ไม่สามารถแลกรับหรือแปลงเป็นจำนวนเงิน ยกเว้นลูกค้าที่ใช้แผนการเรียกเก็บเงินรายเดือนของ Google
ข้อยกเว้นของ SLA ของ Google Apps
ข้อยกเว้นของ SLA ของ Google Apps
ข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA) ของ Google Apps ไม่มีผลกับบริการที่ยกเว้น SLA ของ Google Apps นี้อย่างชัดเจน (ตามที่ระบุในเอกสารสำหรับบริการนั้นๆ) หรือปัญหาด้านประสิทธิภาพทั้งหมด: (i) เกิดจากปัจจัยที่อธิบายในส่วน "สิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุม" ของข้อตกลง หรือ (ii) ที่เกิดจากอุปกรณ์ของลูกค้าหรืออุปกรณ์ของบุคคลที่สาม หรือทั้งสองอย่าง (ไม่อยู่ในการควบคุมของ Google)
ตัวอย่างเช่น
Google AdSense | https://www.google.com/adsense/ |
Google AdWords | https://adwords.google.com/select/ |
Google Analytics | http://google.com/analytics/ |
Google Answers | http://answers.google.com/ |
Google Base | http://base.google.com/ |
Google Blog Search | http://blogsearch.google.com/ |
Google Bookmarks | http://www.google.com/bookmarks/ |
Google Books Search | http://books.google.com/ |
Google Calendar | http://google.com/calendar/ |
Google Catalogs | http://catalogs.google.com/ |
ที่มา : http://www.google.com/apps/intl/th/terms/sla.html , http://www.mininoz.com/
Social Network
Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก
การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติ พลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย
Social Network เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์เสมือนที่ตอบสนองกับการสร้างสายสัมพันธ์ โยงใยให้เราได้เจอบุคคลที่คุยกันในเรื่องที่สนใจได้อย่างคอเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงเพื่อนของเรา เข้ากับเพื่อนของเขา สามารถสร้างสรรค์สังคมใหม่ๆให้กับทุกคน สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และภายนอกองค์กรเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองรูปแบบชีวิตของมนุษย์ยุคปัจจุบันนั่นเองครับ โดยภาพรวม Social Network เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับองค์กรจากปากคำของเราเองได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่จะสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องประสบปัญหาการบิดเบือนข้อความ หรือการสื่อสารที่ตกหล่นอีกต่อไป ครูอาจารย์สามารถให้แง่คิดหรือสิ่งละอันพันละน้อยแก่ลูกศิษย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พูดกันทีเดียวคราวละยาวๆ นักวิจัยอาจพบอะไรที่น่าสนใจแล้วสื่อสารให้รู้กันทุกคนในเครือข่ายเดียวกันได้ทันทีเพื่อให้ทีมรับรู้สิ่งน่าสนใจไปพร้อมๆกัน
ยกตัวอย่างเช่น
1.Facebook Messenger
2.Find My Friends
3.Facebook
4.Twitter
5.Skype
6.WeChat
7.Viber
8.Pinterest
9.Tango
10.Line
ที่มา :https://sites.google.com/site/socialnetworkfc/social-network-khux-xari , http://hitech.sanook.com/
Homepage/ Webpage /Website /Web Browser
เว็บไซต์
หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจเว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
เว็บเพจ (webpage)
หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน
โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอปเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย
โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่นอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น
โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น
โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอปเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย
โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่นอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น
โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น
โฮมเพจ (HomePage)
หมายถึง เว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ และจะบันทึกไฟล์เป็นนามสกุล.html หรือ .htm ชื่อไฟล์เป็น index เช่น index.html
Web Browser
หมายถึงโปรแกรมใช้ในการแสดงผลภาษา HTML ให้แสดงในรูป World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer ฯลฯ
การใช้งานทั่วไปของ Email
การใช้อีเมล์ E-mail
การใช้อีเมล์ E-mail ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการใช้บริการจาก Mail Server ของผู้เปิดให้บริการทั่ว ๆ ไป E-mail เป็นบริการที่มีการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้ประโยชน์ในการรับ - ส่งข่าวคราวถึงกัน ในลักษณะของข้อความ หรือ File ที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็น File ข้อความ, File ภาพนิ่ง, File ภาพเคลื่อนไหว, File เสียง, หรือ Program File ซึ่งสามารถส่งแนบไปพร้อมกับการส่งเมล์ โดยผู้ให้บริการไม่คิดค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้บริการ
จะเสียเพียงค่าโทรศัพท์และค่าเวลาของบริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น การรับและส่งไม่ผูกพันกับที่อยู่ทางภูมิศาสตร์ ไม่ต้องรอคอยรับอยู่ที่บ้านหรือหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ คือจะส่งหรือรับอยู่ที่ใด ๆ ก็ได้ ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถล๊อกอินเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ในปัจจุบันสามารถรับและส่ง E-mail จากโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ๆ ได้ด้วย
จะเสียเพียงค่าโทรศัพท์และค่าเวลาของบริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น การรับและส่งไม่ผูกพันกับที่อยู่ทางภูมิศาสตร์ ไม่ต้องรอคอยรับอยู่ที่บ้านหรือหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ คือจะส่งหรือรับอยู่ที่ใด ๆ ก็ได้ ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถล๊อกอินเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ในปัจจุบันสามารถรับและส่ง E-mail จากโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ๆ ได้ด้วย
ในการส่ง E-mail ใช้เวลาเดินทางเป็นวินาที จดหมายหนึ่งฉบับส่งถึงผู้รับในคราวเดียวพร้อมกันได้ไม่จำกัดจำนวนผู้รับ โดยจ่าหน้าถึงผู้รับแล้วคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) หรือจะเพิ่มในช่องสำเนาก็ได้ และในการเพิ่มชื่อผู้รับในช่องสำเนาถึงผู้รับจำนวนมาก ก็คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาคเช่นเดียวกัน ในการเพิ่มชื่อผู้รับในช่องสำเนาจะเป็นลักษณะจดหมายเวียน ผู้รับจะได้รับจดหมายข้อความเดียวกันทุกคน ในการเพิ่มชื่อในช่องสำเนาจะมีทั้งสำเนาแบบเปิดเผย (Cc:) และแบบซ่อน (Bcc:) ในแบบเปิดเผยทุกคนที่ได้รับ E-mail จะทราบว่าผู้ส่งส่งถึงใครบ้างในจดหมายฉบับเดียวและเวลาส่งเดียวกัน ส่วนแบบซ่อน ผู้ที่ได้รับ E-mail จะทราบเพียงว่าผู้ส่งได้ส่งถึงเฉพาะตัวผู้รับเองเท่านั้นแม้ว่าผู้ส่งจะส่ง E-mail ถึงใครหลายคนด้วยจดหมายข้อความเดียวกันก็ตาม
ในรายการเมล์ Mailling List ทันทีที่ล๊อกอินเข้าสู่ Mail Server ผู้รับจะทราบได้ทันทีว่ามีจดหมายถึงตัวเองกี่ฉบับ ที่มาใหม่ยังไม่ได้อ่านกี่ฉบับ ฉบับที่ยังไม่ได้อ่านก็จะมีสัญลักษณ์ไว้ให้เป็นที่สังเกตว่ายังไม่ได้อ่าน ทำให้เกิดความสะดวกในการเปิดอ่าน เมื่ออ่านแล้วจะลบทิ้งหรือจะเก็บไว้ก่อนก็ได้ แต่ถ้าจดหมายใดไม่มีความสำคัญที่จะเก็บไว้ก็ควรที่จะลบออกจาก Mail Box เพราะจะทำให้ Mail Box มีพื้นที่ที่จะรับจดหมายได้อีก ถ้าหากไม่มีการลบจดหมายเลยนานเข้าก็จะทำให้รับจดหมายที่มาใหม่ไม่ได้ สาเหตุก็เนื่องจาก Mail Box เต็ม (พื้นที่ของ Mail Box จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ Mail Server กำหนดไว้)
การรับและส่งเมล์
ถ้ารับเมล์แล้วข้อความที่ได้ไม่สามารถแสดงเป็นตัวอักษรให้อ่านได้ ผู้รับเมล์จะต้องคัดลอกข้อความของเมล์ที่ได้รับ แล้วไปเปิดโปรแกรมที่มีความสามารถที่จะจัดการเกี่ยวกับรูปแบบตัวอักษร (Text Font ) เช่น Notepad, Wordpad, Microsoft Word, หรือโปรแกรมอื่นๆ นำไป Paste ลงโปรแกรมดังกล่าว แล้วทำการเปลี่ยน Font ของตัวอักษรใหม่ ก็จะทำให้อ่าน เมล์นั้นได้หากยังไม่ได้อีกก็ให้บันทึกลงไว้ใน Drive A ด้วยโปรแกรมดังกล่าว แล้วนำแผ่นดิสก์ไปขอเปิดจากเครื่องที่มี Font ตัวอักษรที่ตรงกัน หรือไม่ก็ให้หา Font ตัวอักษรมาเพิ่มไว้ในเครื่องที่เราใช้งาน
ในการส่งเมล์ควรมีการเตรียมข้อความจาก โปรแกรม Notepad, Wordpad, Microsoft Word, หรือโปรแกรมอื่นๆ ตรวจข้อความว่าใช้คำได้ถูกต้อง สะกดถูกต้อง พิมพ์ตก พิมพ์ผิด แล้วบันทึกไว้ก่อนเริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ต พอเริ่มใช้อินเทอร์เน็ต Log in เข้าสู่ Mail Server แล้วจึงไปก๊อบปี้ข้อความที่เตรียมไว้ มา Paste ลงในช่องกรอกข้อความของ E-mail แล้วจึงกดส่ง จะทำให้ประหยัดเวลาและได้ข้อความที่มีความสมบูรณ์ในการส่งเมล์
หากมีการส่งแนบไฟล์หลาย ๆ ไฟล์เช่นไฟล์รูปภาพ เพื่อส่งให้ผู้รับให้สร้าง Folder เพื่อเก็บไฟล์ไว้ก่อน แล้วใช้โปรแกรมบีบอัดทั้ง Folder ให้เป็นไฟล์บีบอัด เช่น ซิปไฟล์ แล้วจึงส่ง แต่ต้องไม่เกินหน่วยความจำที่ Mail Server แต่ละรายกำหนดไว้
นอกจากจะส่ง E-mail ถึงผู้รับอื่นแล้ว ยังสามารถส่งเมล์ให้กับตัวเองได้ด้วย ประโยชน์ก็คือเวลาทำงานเร่งด่วนและมีความจำเป็นจะนำงาน หรือไฟล์ที่ทำไว้ไปใช้งานในต่างจังหวัดหรือที่อื่น แต่ไม่มีแผ่น Diskette เพื่อบันทึกข้อมูลนั้นไป ก็ส่งเมล์แนบไฟล์ที่เราต้องการให้เข้าไปไว้ใน Mail Box ตามที่อยู่ E-mail address ของตัวเอง จากนั้นเมื่อไปถึงสถานที่ใช้งานก็ไปเปิดเมล์ของตัวเอง เพื่อนำไฟล์ที่ attach ไปกับเมล์นั้นมาใช้งานได้
หลังจากที่เราส่งเมล์ไปแล้ว หาก E-mail address ที่เราส่งไปนั้นไม่มีชื่อตามที่ส่งไป Mail Server ปลายทางจะแจ้งกลับมาให้เราได้ทราบด้วยว่าไม่มีชื่อผู้รับตามที่เราส่งไป เราก็จะต้องตรวจสอบว่าเราพิมพ์ชื่อผู้รับผิดพลาดหรือ Domain Name ผิด
Web Application
ส่วนมากเรามักจะคุ้นเคยกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ติดตั้ง โปรแกรมพวก Microsoft Office ที่ประกอบด้วย Word ที่สำหรับพิมพ์เอกสาร Excel สำหรับสร้างตารางคำนวณ โปรแกรมพวกนี้เราจะเรียกมันว่า Desktop Application ซึ่งจะติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องใครเครื่องคนนั้น หรือโปรแกรมสำหรับงานบัญชี ที่บางหน่วยงานติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นลักษณะ Client-Server Application โดยเก็บฐานข้อมูลไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ (Server) และติดตั้งตัวโปรแกรมบัญชีที่เครื่องใช้งาน (Client) ซึ่งตอบสนองความต้องการเพิ่มขึ้นในด้าน Multi-User หรือใช้งานพร้อมๆกันได้หลายๆคน โดยใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เก็บฐานข้อมูลไว้ที่ส่วนกลาง
เทคโนโลยี Desktop Application ไม่สามารถตอบสนองความต้องการการบริหารจัดการได้ โดยเฉพาะการทำธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา ข้อมูลมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เพื่อตอบสนองภาวะตลาดที่แปรเปลี่ยน ระบบ Client-Server Application ตัวโปรแกรมมีความซับซ้อน การแก้ไข การ Upgrade ทำได้ยุ่งยาก อย่างกรณี หากต้องการ Upgrade หรือเพิ่มคุณสมบัติเพิ่มเติมให้กับ Application ที่ตัวเซิร์ฟเวอร์ต้องหยุดระบบทั้งหมด และเมื่อ Upgrade ที่เซิร์ฟเวอร์แล้ว ก็จำเป็นต้อง Upgrade ที่ Client ด้วย หากระบบมีผู้ใช้งานจำนวนมาก จะยิ่งเพิ่มความยุ่งยากมากขึ้น
นอกจากนี้ยังไม่รวมปัญหาว่า ที่เครื่อง Client มีความหลากหลายและแตกต่างกัน เช่น OS (Operating System) ที่ต่างกัน สเปคเครื่องที่แตกต่างกัน ซึ่งหากการ Upgrade แล้วมีความจำเป็นต้องใช้สเปคเครื่องที่สูงขึ้นที่ฝั่ง Client จำเป็นต้อง Upgrade ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตามไปด้วย
จากตัวอย่างปัญหาเหล่านี้ ถูกจัดการด้วยเทคโนโลยี Web Application (เว็บแอพพลิเคชั่น) เพราะ Web Application สามารถตอบสนองปัญหาข้างต้นได้เป็นอย่างดี และสามารถแทนที่ Desktop Application ที่เป็น Client-Server Application ได้เป็นอย่างดี ตัวโปรแกรมของ Web Application จะถูกติดตั้งไว้ที่ Server คอยให้บริการกับ Client และที่ Client ก็ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม สามารถใช้โปรแกรมประเภท Brower ที่ติดมากับ OS ใช้งานได้ทันที อย่าง Internet Explorer หรือโปรแกรมฟรี ได้แก่ FireFox, Google Chrome ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ด้วยความสามารถของ Brower ที่หลากหลาย ทำให้ไม่จำกัดว่าเครื่องที่ใช้เป็น OS อะไร หรืออุปกรณ์อะไร อย่างอุปกรณ์ TouchPad หรือ SmartPhone ก็สามารถเรียกใช้งานได้ ลดข้อจำกัดเรื่องสถานที่ใช้งานอีกด้วย
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือข้อมูลที่ส่งหากัน ระหว่าง Client กับ Server มีปริมาณน้อยมาก ทำให้เราสามารถย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปอยู่บนเครือข่าย Internet ได้ และสามารถใช้งานผ่าน Internet Connection ที่มีความเร็วต่ำๆได้ จุดเด่นนี้ทำให้ สามารถใช้ Application เหล่านี้จากทุกๆแห่งในโลกได้
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ หรือเรียกโดยทับศัพท์ว่า เว็บแอพพลิเคชั่น (อังกฤษ: web application) คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เว็บแอพพลิเคชั่นเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดท และดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่าย และติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอพพลิเคชั่นได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิกิ เป็นต้น
เราพอเริ่มจะเห็น การพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับแอพพลิเคชั่นกันแล้ว ถ้าจะพูดกันเป็นภาษาง่ายๆ เว็บแอพพลิเคชั่น เป็นการย้าย แอพพลิเคชั่นไปไว้บนระบบเครือข่ายนั่นเอง ซึ่งเราจะได้ประโยชน์จากระบบเครือข่ายอย่างมาก เพราะระบบเครือข่ายทุกวันนี้ จะรวมถึงระบบเครือข่ายภายในหรือที่เรียกกันติดปากว่าระบบแลนทั้งมีสายและไร้สาย และรวมไปถึงระบบ Internet ภายนอก ที่ครอบคลุมไปทั่ว
ที่มา : http://www.aicomputer.co.th/sArticle/002-what-is-Web-Application.aspx
ประวัติความเป็นมาของ Internet
จากอดีต-ปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
- โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
- เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
- สายโทรศัพท์ทองแดง
โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป
นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
ปี 2530 ม.สงขลา (PSU) ได้ทำการใช้ e-mail เป็นครั้งแรก โดยเชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเวลาเดียวกัน สถาบัน AIT (Asian Insitute of Technology) ได้ทดสอบ UUCP โดยเชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย Melbourne และ มหาวิยาลัยในโตเกียว โดยผ่านเครือข่าย X.25 ที่ให้บริการโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย internet ในช่วงแรกส่วนมากจะใช้วิธี dial ไปที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ
ปี 2531 ได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet) ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25
นอก จากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
ปี 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP
เครือ ข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ"
ปี 2535 The National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) หลังจากที่ได้สร้างเครือข่ายของมหาวิยาลัยขึ้นมาอีกเครือข่ายนึง (Inter-University Network) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2530 เนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn"และได้สร้าง NEWgroup (NECTEC's Email Working Group) เพื่อใช้ในการรับส่ง Email กับ NECTEC เป็นผลให้เกิด Thai Social/Scientific, Academic and Research Network (ThaiSarn) โดยการรวมกันระหว่าง TCSNet และ Inter-University Network ในปีนั้นเอง เครือข่าย internet ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว MHSNet และ UUCP โดยใช้ dial-up หรือเครือข่าย X.25 ก็ถูกแทนโดย Internet Protocol (คือใช้ได้ทุก feature ของ Internet จากเดิมที่ใช้แค่ E-mail อย่างเดียว) โดยผ่านวงจรเช่า (leased lines) เริ่มด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF) หลังจากนั้นไม่นาน NECTEC ก็เชื่อมต่อกับ UUNET ความเร็ว 64 Kbps เครือข่ายของ ThaiSarn ในขณะนั้นไม่ได้มีเพียงสถาบันการศึกษาเท่านั้นแต่มีองค์กรของรัฐร่วมอยู่ด้วย
ปี 2537 หลายโรงเรียนได้เริ่มทดสอบการใช้งาน internet เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537 ฅ
AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร
ปี 2538 เกิดโครงการ SchoolNet โดย NECTEC, Internet สำหรับเอกชนได้ถือกำเนิดในปีนี้เช่นเดียวกัน หลังจาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT) และ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT) ศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน ก็ให้ลิขสิทธิ์ (licensed) ให้แก่ Internet Thailand ให้เป็น Internet Service Provider (ISP) รายแรก โดย Internet Thailand ได้เชื่อมต่อกับ UUNET ด้วยความเร็ว 512 Kbps ในช่วงเวลาเดียวกัน KSC Comnet ก็ได้รับลิขสิทธิ์เช่นกัน หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก็มีอีก 3 บริษัทได้รับลิขสิทธิ์ ตั้งแต่นั้นมา Internet ในประเทศไทยก็เริ่มโตอย่างรวดเร็ว รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน
ปี 2539 หลังจากเกิด ISP ขึ้นมากมายและแต่ละรายก็มี link เชื่อมไปต่างประเทศเป็นของตนเอง เดือนมิถุนายน CAT จึงเริ่มให้บริการ the International Internet Gateway (IIG) เพื่อให้บริการเชื่อมต่อ Internet สำหรับ ISP ที่ไม่สามารถมี link เชื่อมต่อไปต่างประเทศโดยตรง ISP เล็กหลายแห่งได้ใช้บริการของ IIG เพื่อลดต้นทุน แต่ ISP ส่วนใหญ่ยังคงมี link ของตนเองเพื่อความเสถียร (reliability) และใช้ในการแข่งขัน นอกจากนั้น CAT ยังให้บริการ local internet exchange ในชื่อ Thailand National Internet Exchange (TH-NIX) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
ปี 2540 ในเดือนพฤศจิกายน NECTEC เปิดให้บริการ local internet exchange ขึ้นในชื่อ The ThaiSarn Public Internet Exchange (PIE) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ต่างๆเข้ากับ ThaiSarn Public access Network นอกจากนั้นคือเพิ่มทางเลือกให้แก่ ISP เนื่องจาก TH-NIX มีระเบียบข้อบังคับมาก
ปี 2541 ในเดือนพฤษภาคม TH-NIX และ PIE ได้เชื่อมต่อกันด้วยความเร็ว 2 Mbps
ปี 2550 บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet) ในประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างสูงและมีความต้องการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นทุก วัน ทั้งปริมาณผู้ใช้และปริมาณอัตราการรับส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากขึ้นทุกวัน
การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย
ต่อมาเมื่อ ตุลาคม 2540 เปลี่ยนรูปกิจการเป็น บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และได้รับสิทธิ์การให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์อีกเป็นครั้งที่สอง และเมื่อ พฤศจิกายน 2544 แปรรูปพ้นสถานะรัฐวิสาหกิจโดยกระจายหุ้นส่วนใหญ่ ให้กับประชาชนผู้สนใจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จนกระทั่งได้มีองค์กรอิสระองค์กรหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทร คมนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นและบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมให้เกิด ประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช. นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจหน้าที่ของ กทช. ที่ พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้บัญญัติให้ กทช. ต้องดำเนินการเปิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม จึงทำให้ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ถึง 59 ราย ภายในเวลาสองปีตั้งแต่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่มา เนื่องจาก กทช. ได้ดำเนินนโยบายเปิดเสรีให้ผู้ที่มีศักยภาพเข้าสู่ตลาดมากขึ้นและผู้ประกอบ การเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ถูกมาก ทำให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ทุกรายในประเทศสามารถพัฒนาคุณภาพบริการของตนให้สูงที่สุดได้และมีราคาถูกที่ สุดได้ อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ตกแก่ประชาชนเป็นหลัก
ผู้ใช้ในประเทศไทยยุคเริ่มแรกจนถึง ปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายเป็นสำคัญ (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงใน ปัจจุบัน
Business Model บริการ อินเทอร์เน็ต ในอดีตประชาชนเข้าถึงโครงข่าย อินเทอร์เน็ต โดยการใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน โดยใช้โมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up และคิดค่าบริการเป็นชั่วโมง
การใช้ โมเด็ม โทรเรียกเข้าศูนย์บริการผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานดั้งเดิมจะมีอัตราการส่ง ข้อมูลที่ 28.8 kbps (28.8 กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งสาเหตุที่ทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้เพียง 28 kbps นั้น เนื่องจากว่าสายโทรศัพท์พื้นฐานตามบ้านเดิม เป็นโครงข่ายที่ทำจากลวดทองแดง ซึ่งจากคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical Property) ของลวดทองแดงนั้น สามารถอนุญาตให้สัญญาณทางไฟฟ้า ที่มีความถี่ไม่เกิน 28 กิโลเฮิร์ซ หรือ 28 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้นผ่านไปได้ แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วย เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps และความหวังของผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต หลายฝ่ายดูเหมือนจะจบลงด้วยข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลเท่านั้นอยู่หลายปี อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก
จู่ๆ ก็เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสาย ทองแดง กันอย่างมากมายทั่วโลก โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงเทคนิคการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์เดิมเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL เป็น เทคโนโลยี ที่พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ลวดทองแดงธรรมดา ให้สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ทะลุขีดจำกัดด้านคุณสมบัติทางไฟฟ้าของสายทองแดง DSL สามารถรับส่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบจากเทคโนโลยี โมเด็ม แบบเดิมตรงที่สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ตลอดเวลา (Always on) โดยไม่จำเป็นต้องโทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการทุกครั้งและไม่นับชั่วโมงอีก ต่อไป ทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์บ้านไปพร้อมกับการใช้ อินเทอร์เน็ต ได้อีกด้วย Business Model เปลี่ยนเป็นการเก็บค่าบริการรายเดือน
นอกจากนั้นยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line) ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ให้สามารถให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศ ได้ นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสอันดีของประชาชนในประเทศที่มีทางเลือกที่ดีมากขึ้นและ เป็นการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมโดยรวมของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย อีกประการ
เทคโนโลยีไร้สายกำลังมาแรง ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่สร้างความรุ่งเรืองในวงการโทรคมนาคมสลับกับ เทคโนโลยีผ่านสายอันเป็นวฎจักรเสมอมา การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ไร้สายในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย โดยเริ่มเกิดความนิยมจากการใช้ WiFi ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไร้สายซึ่งมีความสะดวกสบายจึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
นอกจากนั้นก็ยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่รู้จักกันในนาม iPSTAR เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive ดวงแรก
นอกจากนี้ในอนาคนอันใกล้เราอาจได้ยินคำว่า WISP หรือ Wireless ISP นั่นเองซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือเราอาจเคยได้ยินในชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้น WiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างนั่นเอง หลายท่านคงนึกภาพการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน WiFi ออก WiMAX ก็แค่เพิ่มพื้นที่การครอบคลุมให้กว้างขึ้นนั่นเอง เรียกว่าเป็น สิบๆ กิโลเมตรเลยทีเดียว
ปัจจุบันมีคนไทยใช้ อินเทอร์เน็ต ประมาณ 10 ล้านคน สภาพตลาดบริการโดยรวมมีจำนวนผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการ อินเทอร์เน็ต จาก กทช. ทั้งสิ้น 59 ราย บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่ามีระดับการแข่งขันที่สูง เนื่องจากมีจำนวนผู้ให้บริการจำนวนมากใกล้เคียงลักษณะตลาดแบบ Perfect Competition ในอุดมคติและจำนวนผู้ใช้บริการก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ในตลาดบริการ อินเทอร์เน็ต ทั้งสองตลาดมีอัตราค่าบริการที่ต่างกันตามคุณภาพบริการหรืออัตราความเร็วใน การรับส่งข้อมูล กล่าวคือ ตลาดอินเทอร์เน็ต ความเร็วต่ำ (Narrow Band) จะมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่าตลาด อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง (Broad Band) โดยแนวโน้มของอัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต มีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด (สอดคล้องกับหลัการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม) ปัจจุบันอัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ความเร็วต่ำราคาค่าบริการต่ำสุด 4 บาทต่อชั่วโมง ในขณะที่อัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงอัตราค่าบริการต่ำสุดที่ 290 บาทต่อเดือน
ในรายงานศูนย์วิจัยกสิกรไทยฉบับ “52 ธุรกิจปีกุน: ต้องเร่งปรับตัว...รับเศรษฐกิจพอเพียง” ปีที่ 13 ฉบับที่ 1946 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 ประมาณว่า ตลาดไอทีไทยจะยังสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 15 มีมูลค่าตลาดประมาณ 162,717 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้
- การขยายตัวของเศรษฐกิจ ในปี 2550 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 4.0-5.0 ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยบวกหลายประการ อาทิ ความสามารถในการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจ ไทยในปีหน้า อัตราเงินเฟ้อในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาน้ำมันในประเทศก็น่าจะมีเสถียรภาพมากกว่าในปี 2549 ที่ผ่านมารวมทั้งมีความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้น่าจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้จ่ายซื้อสินค้า มากกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งการเพิ่มการลงทุนสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น
- การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในด้านไอที มูลค่าตลาดไอทีนั้นหากเทียบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แล้ว สำหรับประเทศไทยนั้นจัดว่ามีสัดส่วนค่อนข้างน้อยหรือประมาณร้อยละ 1.97 ของ GDP ในปี 2549 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.22 ในปี 2550 โดยกลุ่มที่มีการใช้จ่ายทางด้านไอทีสูงได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและโฮมออฟฟิส (SOHO) กลุ่มการศึกษา ส่วนกลุ่มราชการนั้นน่าจะมีโครงการจัดซื้อเพิ่มขึ้นหลังจากที่ในปี 2549 ได้ชะลอการจัดซื้อลง
- การเติบโตของตลาดคอมพิวเตอร์ สำหรับตลาดคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและ ยังมีโอกาสขยายตัวได้ดี ทั้งนี้เพราะฐานจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับ ต่ำ โดยในปี 2550 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณว่าตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นน่าจะมีการเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 8-10 มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็น 1.4-1.5 ล้านเครื่อง
- การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสร้างจุดขายใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น แต่ราคาเทคโนโลยีกลับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ในปี 2550 จะมีเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องจากปี 2549 โดยเฉพาะ Dual core Processor ที่จะทำให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและรองรับการ ทำงานในลักษณะมัลติมีเดียและรองรับระบบปฎิบัติการวินโดว์วิสต้า ที่จะเปิดตลาดอย่างเป็นทางการในปี 2550
ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/275708
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556
การสื่อสารแบบไร้สาย
การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ (สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่ง แต่ละหาจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30-50 กม. ระยะห่างของแต่ละหอคำนวณง่าย ๆ ได้จาก
สูตร
d = 7.14 (1.33h)1/2 กม.
เมื่อ d = ระยะห่างระหว่างหอ h = ความสูงของหอ
การส่งสัญญาณข้อมูลไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่น ในเขตเมืองใหญ่ ๆ หรือในเขตที่ป่าเขา แต่ละสถานีไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง-รับสัญญาณข้อมูล ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุต สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นย่านความถี่สูง
(2-10 จิกะเฮิรตซ์) เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลง หรือหักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้นการติดตั้งจาน ส่ง-รับสัญญาณจึงต้องให้หันหน้าของจานตรงกัน และหอยิ่งสูงยิ่งส่งสัญญาณได้ไกล
ปัจจุบันมีการใช้การส่งสัญญาณข้อมูลทางไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกล ๆ หรือระหว่างอาคาร โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สะดวกที่จะใช้สายไฟเบอร์ออปติก หรือการสื่อสารดาวเทียม อีกทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูกกว่า และติดตั้งได้ง่ายกว่า และสามารถส่งข้อมูลได้คราวละมาก ๆ ด้วย อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่ทำให้สื่อกลางไมโครเวฟเป็นที่นิยม คือราคาที่ถูกกว่า
การสื่อสารด้วยดาวเทียม (Satellite Transmission)
ที่จริงดาวเทียมก็คือสถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง ซึ่งทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล รับและส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียม ที่อยู่บนพื้นโลก สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทำการส่งสัญญาณข้อมูล ไปยังดาวเทียมซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียมกับ ตำแหน่งบนพื้นโลก ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปให้ลอยอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 23,300 กม. เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียม (Transponder) จะรับสัญญาณข้อมูลจากสถานีภาคพื้นซึ่งมีกำลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย จากนั้นจะทำการทบทวนสัญญาณ และตรวจสอบตำแหน่งของสถานีปลายทาง แล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถี่ในอีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลายทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัปลิงก์"
(Up-link) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณ ดาวน์-ลิงก์ (Down-link)
ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) สถานีดาวเทียม
1 ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลก ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูลให้ได้รอบโลกสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณผ่านสถานีดาวเทียมเพียง 3 ดวงเท่านั้น
ระหว่างสถานีดาวเทียม 2 ดวง ที่ใช้ความถี่ของสัญญาณเท่ากันถ้าอยู่ใกล้กันเกินไปอาจจะทำให้เกิดการรบกวนสัญญาณ ซึ่งกันและกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวน หรือชนกันของสัญญาณดาวเทียม จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างของสถานีดาวเทียม และย่านความถี่ของสัญญาณดังนี้
ระยะห่างกัน 4 องศา (วัดมุมเทียงกับจุดศูนย์กลางของโลก) ให้ใช้ย่านความถี่ของสัญญาณ 4/6 จิกะเฮิรตซ์ หรือย่าน C แบนด์โดยมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณอัป-ลิงก์เท่ากับ 5.925-6.425 จิกะเฮิรตซ์ และมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณดาวน์-ลิงก์เท่ากับ 3.7-4.2 จิกะเฮิรตซ์
ระยะห่างกัน 3 องศา ให้ใช้ย่านความถี่ของสัญญาณ 12/14 จิกะเฮิรตซ์ หรือย่าน KU แบนด์ โดยมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณอัป-ลิงก์เท่ากับ 14.0-14.5 จิกะเฮิรตซ์ และมีแบนด์วิดท์ของสัญญาณดาวน์-ลิงก์เท่ากับ 11.7-12.2 จิกะเฮิรตซ์ นอกจากนี้สภาพอากาศ เช่น ฝนหรือพายุ ก็สามารถทำให้สัญญาณผิดเพี้ยนไปได้เช่นกัน
สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลนั้นในแต่ละเครื่องทบทวนสัญญาณจะมีแบนด์วิดท์เท่ากับ 36 เมกะเฮิรตซ์ และมีอัตราเร็วการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ 50 เมกะบิตต่อวินาที
ข้อเสีย ของการส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมคือ สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้นอื่น ๆ ได้ อีกทั้งยังมีเวลาประวิง
(Delay Time) ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณ และที่สำคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทำให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมาเช่นกัน
ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/technology/network/equ.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)