ประวัติผู้จัดทำบล็อก
วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556
ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย
ปัญหาทางสายตาเป็นเรื่องใหญ่ ใครที่นั่งจ้องจอคอมฯ นานกว่า 3 ช.ม. ติดต่อกัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า สายตาจะพร่า อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล
วิธีแก้ปัญหา
1. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างอย่างน้อย 2 ฟุต ในระดับสายตาตรงหน้าพอดี
2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ๆ หน้าจอ ขนจะลุก
3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้
4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ
5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาดๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก
6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ
2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ๆ หน้าจอ ขนจะลุก
3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้
4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ
5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาดๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก
6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ
ปัญหาปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ แก้ไขโดย
1. ตั้งจอตรงหน้าพอดีไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่เอียงซ้าย หรือขวา
2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นานๆ ไหล่จะค่อยๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนานๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ
3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.
2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นานๆ ไหล่จะค่อยๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนานๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ
3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.
ปัญหาปวดหลัง แก้ไขโดย
1. ขณะนั่งทำคอมพิวเตอร์ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า ถ้าสูงเกินไปจนเท้าลอย หรือถ้าต่ำเกินไป ก้นจะจ่อมอยู่บนที่นั่ง ทำให้เมื่อยบริเวณก้นได้
2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้
3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา
4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.
2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้
3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา
4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.
ที่มา : http://www.bloggang.com/
ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ
โรคที่สามารถเกิดจากคอมพิวเตอร์ก็จะส่งผลได้ทั้งร่างกาย จิตใจ และการติดเชื้อ ดังนี้
ผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง
ดวงตา ดวงตา กล้ามเนื้อและระบบประสาท ทำให้เกิดอาการเมื่อยตา สายตาเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ คลื่นไส้ เป็นต้น โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของ โรคนี้คือ ปวดตา เมื่อยตา ตาแห้ง ถ้าอาการเป็นมากยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสายตาเสื่อมลงด้วย เนื่องจากขณะใช้คอมพิวเตอร์ดวงตาต้องจ้องมองหน้าจอที่มีตัวหนังสือหรือภาพกระพริบตลอดเวลา ทำให้กลไกตามธรรมชาติของการกระพริบตาลดน้อยลงจนเราไม่สังเกต เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตาแห้ง และหากดวงตาอยู่ในสภาพที่เหน็ดเหนื่อยหรือตาแห้ง ก็จะทำให้สายตาเสื่อมลง ทาง American Optometric Association (AOA) มีการให้คำจำกัดความของโรคหรือภัยที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผลที่เกิดกับดวงตาและการมองเห็นว่า คือโรค Computer Vision Syndrome หรือ CVS โดยมีอาการคือ ปวดเบ้าตา, ปวดต้นคอ, มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา, มีภาวะตาแห้ง, รอยตาคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา สาเหตุหลักนอกจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ แล้ว ยังสามารถเกิดได้จากการได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลตทั้งจากรังสี UV ที่ออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ หรือจากแสงแดดก็ได้ระบบประสาท จากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์ แม้ว่ารังสีชนิดต่างๆจากหน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีความปลอดภัยก็ตาม แต่การรับการแผ่รังสีเป็นเวลานานก็อาจจะส่งผลกระทบถึงระบบประสาทของมนุษย์ได้เช่นกัน จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อึดอัด และนอนไม่หลับ เป็นต้น
เสี่ยงต่อการเป็นหมัน ในวารสาร “Human Reproduction” มีรายงานที่เขียนโดย ดร.เยซิม เซย์คิน หัวหน้าทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยประจำนครนิวยอร์ก รายงานไว้ว่า คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปหรือโน๊ตบุ๊ค ที่หลายคนชอบวางทำงานไว้บนหน้าตักนั้น จะทำให้อุณหภูมิที่ลูกอัณฑะสูงขึ้นซึ่งมีผลต่อการสร้างสเปิร์มของผู้ชายทุกคนและทุกวัย ปกติแล้วลูกอัณฑะที่ใช้ผลิตเสปิร์มของผู้ชายนั้นเป็นอวัยวะที่ไวต่ออุณภูมิเป็นอย่างมาก โดยอุณภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียสก็จะลดจำนวนเสปิร์มที่แข็งแรงลงไปถึงร้อยละ 40 การวางโน๊ตบุ๊คบนตักหนึ่งชั่วโมงทำให้อุณหภูมิลูกอัณฑะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.6 ถึง 2.8 องศาเซลเซียส
โรคที่เกิดจากท่านั่งหรือการทำงานซ้ำซาก
โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือ และหลัง ผู้ที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือo ระยะแรกเป็นแล้วหายเมื่อได้พัก
o ระยะสองคือ มีอาการต่อเนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก
o ระยะสามคือ เป็นตลอดเวลาไม่หายเมื่อได้พัก
การรักษาคือ ต้องปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเองหรือถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์ และควรเล่าประวัติการทำงานเพื่อให้แพทย์ทราบสาเหตุที่แท้จริง แพทย์จึงจะรักษาเฉพาะที่ได้
อาการ Repetitive Strain Injury หรือ RSI ซึ่งสามารถเป็นได้กับทุกส่วนของร่างกายจากการนั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่ และสายตา เนื่องจากอวัยวะส่วนที่มีปัญหาถูกวางค้าง ถูกทิ้งน้ำหนัก หรือกดทับนานๆ จนอักเสบ หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น
กลุ่มอาการปวดข้อ(Carpal Tunnel Syndrome: CTS) เป็นกลุ่มอาการของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอาการของโรคกระดูกข้อมือเจ็บปวด ข้อกระดูกนิ้วมือเสื่อม และชา
สาเหตุ เกิดจากการกดแป้นพิมพ์ และการใช้เมาส์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การจับเมาส์โดยมีข้อมือเป็นจุดหมุน อาจเกิดพังผืดบริเวณข้อมือ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการชา จนไม่สามารถหยิบของได้
การรักษา หากเริ่มมีอาการอาจต้องรับประทานยาแก้ปวดและหยุดการเคลื่อนไหวโดยการพักข้อมือ อาการก็อาจทุเลาลงได้ อาการปวดจะหายไปในที่สุด หากปวดบวม ให้รับประทานยาระงับปวดและอาจต้องสวมอุปกรณ์ประคองมือ เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ หรือฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เข้าบริเวณข้อมือ เพื่อลดการอักเสบโดยตรง ส่วนในรายที่เป็นมานานอาจจำเป็นต้องผ่าตัดจึงจะได้ผลดี
โรคที่เกิดจากเชื้อโรคที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
โรคภูมิแพ้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอก โฮล์ม ในสวีเดนพบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอและคอมพิวเตอร์ สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น คัน คัดจมูก และปวดศีรษะ ผลวิจัยพบว่า เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา โดยเฉพาะหากสภาพภายในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่งQwerty Tummy (โรคที่ตั้งชื่อตามตัวอักษรชุดแรกบนแป้นคีย์บอร์ด) ซึ่งอาจระบาดในที่ทำงานได้ หากว่าแป้นคีย์บอร์ดมีแบคทีเรีย สาเหตุเกิดจากอาหารเป็นพิษ โดยผู้ใช้รับ-ประทานอาหารไปพร้อมกับใช้งานคีย์บอร์ด ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดคีย์บอร์ดเป็นประจำไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ด้วยผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำหมาดๆ อย่างน้อยเดือนละครั้งเสมอ
โรคที่เกิดจากการใช้งาน
โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) มักจะเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้กลายเป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย เช่น ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนาน ๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย หากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาทได้ จึงควรปรับเปลี่ยนลักษณะงานและพยายามควบคุมอารมณ์ตนเองเมื่อทราบดังนี้แล้วสำหรับผู้ที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นแค่ไหนก็แล้วแต่ คงต้องสอดแทรกการบริหารร่างกายเข้าไปด้วย บิดซ้ายนิด ขวาหน่อย ยืดเส้นยืดสาย จะได้ยืดอายุสุขภาพดีของเราต่อไป
การดูแลสุขภาพดวงตา กับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์
มี 5 วิธีดูแลสุขภาพ ในการทำงานหน้าจอคอมฯ ที่คุณสามารถทำตามได้ง่ายๆ เพื่อช่วยให้คุณทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
1. อย่าลืมกระพริบตา
เวลานั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ อย่าลืมกระพริบตา เพราะการพริบตาจะช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยงไม่ให้ดวงตาแห้ง หลายปัญหาเกี่ยวกับดวงตาก็เกิดจากการ นั่งหน้าจอคอมฯ นานๆ โดยไม่มีการกระพริบตา ดังนั้นอย่าลืมกระพริบตา หรือเพ่งเล็งหน้าจอคอมฯ นานเกินไป2. อย่าลืมดื่มน้ำ
เป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้วว่าน้ำนั้นมีความสำคัญกับร่างกายของคนเรา ยิ่งมีการทำงานที่ต้องใช้สมองและร่างกายด้วยแล้ว น้ำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมันจะทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย อย่างเช่น สมอง ดังนั้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นอย่าลืมดื่มน้ำกันนะจ๊ะ3. อย่าลืมว่าคุณนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง
หลายครั้งหลังจากการทำงานแล้ว หลายคนรู้สึกปวดเมื่อยร่างกายโดยเฉพาะส่วนหลังหรือต้นคอ เหตุผลส่วนหนึ่งคงหนีไม่พ้นจากการนั่งทำงานในท่าที่ผิด ตัวอย่างเช่น การนั่งเอนหลังมากเกินไป ซึ่งเป็นการนั่งไม่ถูกต้อง การนั่งในลักษณะนี้นอกจากจะทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกายแล้ว ยังลดประสิทธิภาพในการทำงานของเราด้วย ท่านั่งที่ถูกต้องคือการนั่งตัวตรง หากนั่งอยู่หน้าจอคอมฯ เพื่อพิมพ์งานต่างๆ ควรให้คีย์บอร์ดและเม้าส์อยู่ในระดับที่พอเหมาะกับแขนและมือที่ยื่นออกไป ไม่สูง ต่ำ หรือ ไกลจากตัวเรามากนัก แค่นี้ก็ช่วยไม่ให้ปวดเมื่อยได้พอสมควร4. อย่าลืมทำความสะอาด
ความสะอาดก็มีส่วนสำคัญที่ไม่ควรปล่อยปละละเลย หากคุณเห็นฝุ่นตามอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือในห้อง ควรทำความสะอาดให้หมดจดเพื่อสุขภาพที่ดีในการทำงาน เพราะฝุ่นละอองเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งเชื้อโรคหรือแบคทีเรียต่างๆ ที่จะส่งผลให้คุณมีโรคภัยไข้เจ็บได้ และที่สำคัญมันยังลดบรรยากาศการทำงานในห้องของคุณด้วย5. อย่าลืมลุกขึ้นจากเก้าอี้บ้าง
ไม่ว่าคุณจะมีเหตุผลที่ต้องทำงานหนักและต้องนั่งนานแค่ไหน ก็ไม่ควรที่จะลืมลุกขึ้นจากเก้าอี้บ้าง เดินผ่อนคลายยืดเส้นยืดสาย หรือสามารถนั่งบนเก้าอี้ไปพร้อมกับยืดเส้นยืดสายไปด้วยก็ได้ เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียน ส่งผลให้คุณมีความสามารถหรือประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น มันช่วยได้จริงๆ นะ แถมยังผ่อนคลายไม่ให้ตึงเครียดมากเกินไปได้อีกด้วย
ที่มา : http://baanstyle.com/
อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์
นอกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์แล้ว ในทางตรงกันข้ามก็มีโทษต่อสุขภาพอย่างร้ายกาจเช่นกัน การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำให้ระบบประสาทเสื่อมและเกิดโรคเครียด ภาพและตัวอักษรที่เคลื่อนไหวอยู่หน้าจอนั้น มีโทษต่อสายตา และการใช้เครื่องอาจทำให้ปวดเอวและหัวไหล่ได้อีกด้วย
ถึง แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะมีโทษอย่างไร เราก็ต้องใช้มันต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จึงเสนอว่าผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บ่อยๆ ควรใส่ใจกับการกินอาหารที่บำรุงสุขภาพให้แข็งแรง และป้องกันโรคต่างๆ ได้เช่น
+ อาหารกลางวัน ควรเลือกอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ ปลา และถั่ว
+ อาหารเย็น ควรเป็นอาหารเบา และรสจืด ซึ่งกินผักเหมาะที่สุด
นอกจากนี้ ยังควรกินอาหารบำรุงสมองและประสาทตา ได้แก่ ปลา กุ้ง ไข่ จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง
ส่วนอาหารที่บำรุงประสาทตา ได้แก่ ผักบุ้ง ฟักทอง ตับ ไข่ นม ผัก มะเขือเทศ นอกจากการรับประทานอาหารบำรุงร่างกายแล้ว
สิ่งที่เราควรทำอีกอย่างหนึ่งคือ ... หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ และควรดื่มน้ำมากๆ เมื่อเป็นสาวไอทีเต็มรูปแบบก็ควรดูแลตัวเองด้วยนะ
ที่มา:http://learning.eduzones.com/offy/4934
ถึง แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะมีโทษอย่างไร เราก็ต้องใช้มันต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จึงเสนอว่าผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บ่อยๆ ควรใส่ใจกับการกินอาหารที่บำรุงสุขภาพให้แข็งแรง และป้องกันโรคต่างๆ ได้เช่น
+ อาหารกลางวัน ควรเลือกอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ ปลา และถั่ว
+ อาหารเย็น ควรเป็นอาหารเบา และรสจืด ซึ่งกินผักเหมาะที่สุด
นอกจากนี้ ยังควรกินอาหารบำรุงสมองและประสาทตา ได้แก่ ปลา กุ้ง ไข่ จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง
ส่วนอาหารที่บำรุงประสาทตา ได้แก่ ผักบุ้ง ฟักทอง ตับ ไข่ นม ผัก มะเขือเทศ นอกจากการรับประทานอาหารบำรุงร่างกายแล้ว
สิ่งที่เราควรทำอีกอย่างหนึ่งคือ ... หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ และควรดื่มน้ำมากๆ เมื่อเป็นสาวไอทีเต็มรูปแบบก็ควรดูแลตัวเองด้วยนะ
ที่มา:http://learning.eduzones.com/offy/4934
การออกกำลังกายและบริหารร่างกายสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์
2. ท่าบริหารกล้ามเนื้อแขน ให้เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้าโดยให้มือประสานกัน
3. ท่าบริหารกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือ โดยยืดแขนออกไปข้างหน้า โดยให้มือชี้ลง พร้อมทั้งดัดนิ้วมือไปทางด้านหลัง โดยให้ทำสลับกันทั้งซ้ายและขวา อย่างน้อย 20 วินาที
4. ท่าบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยการยืนตัวตรง เอามือซ้ายจับบนศีรษะด้านขวา พร้อมโน้มคอไปทางด้านเดียวกับที่มือจับศีรษะอยู่ ทำสลับไปมา ซ้ายขวา
ป้องกันอาการปวด จากผลกระทบของการเล่นเกมและใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ 4 ท่า ดังนี้
1. ท่าบริหารและผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง ท่านี้ควรให้เด็ก ๆ ยืนหรือนั่งให้หลังตรง แล้วเหยียดแขนทั้งสองข้างขึ้นด้านบน ประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน แล้วหงายมือออก2. ท่าบริหารกล้ามเนื้อแขน ให้เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้าโดยให้มือประสานกัน
3. ท่าบริหารกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือ โดยยืดแขนออกไปข้างหน้า โดยให้มือชี้ลง พร้อมทั้งดัดนิ้วมือไปทางด้านหลัง โดยให้ทำสลับกันทั้งซ้ายและขวา อย่างน้อย 20 วินาที
4. ท่าบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยการยืนตัวตรง เอามือซ้ายจับบนศีรษะด้านขวา พร้อมโน้มคอไปทางด้านเดียวกับที่มือจับศีรษะอยู่ ทำสลับไปมา ซ้ายขวา
ที่มา : http://women.thaiza.com/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)