วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556


ประวัติผู้จัดทำบล็อก

นาย อาภากร ประทุมรัตน์

รหัสนักศึกษา 554551262

หมู่เรียน 55/97

คณะ วิทยาการจัดการ

โปรแกรมวิชา นิเทศศาสตร์ ( ประชาสัมพันธ์ ) 


วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย

   ผู้มีอาชีพที่จะต้องนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน มักจะเกิดปัญหากับสุขภาพหลายอย่าง ทั้งสายตา ปวดคอ ปวดหลัง

   ปัญหาทางสายตาเป็นเรื่องใหญ่ ใครที่นั่งจ้องจอคอมฯ นานกว่า 3 ช.ม. ติดต่อกัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า สายตาจะพร่า อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล

   วิธีแก้ปัญหา 

1. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างอย่างน้อย 2 ฟุต ในระดับสายตาตรงหน้าพอดี
2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ๆ หน้าจอ ขนจะลุก
3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้
4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ
5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาดๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก
6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ




ปัญหาปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ แก้ไขโดย 

1. ตั้งจอตรงหน้าพอดีไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่เอียงซ้าย หรือขวา
2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นานๆ ไหล่จะค่อยๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนานๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ
3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.




ปัญหาปวดหลัง แก้ไขโดย 

1. ขณะนั่งทำคอมพิวเตอร์ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า ถ้าสูงเกินไปจนเท้าลอย หรือถ้าต่ำเกินไป ก้นจะจ่อมอยู่บนที่นั่ง ทำให้เมื่อยบริเวณก้นได้
2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้
3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา
4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.
ที่มา : http://www.bloggang.com/
ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ

โรคที่สามารถเกิดจากคอมพิวเตอร์ก็จะส่งผลได้ทั้งร่างกาย จิตใจ และการติดเชื้อ ดังนี้


ผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง

ดวงตา ดวงตา กล้ามเนื้อและระบบประสาท ทำให้เกิดอาการเมื่อยตา สายตาเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ คลื่นไส้ เป็นต้น โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของ โรคนี้คือ ปวดตา เมื่อยตา ตาแห้ง ถ้าอาการเป็นมากยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสายตาเสื่อมลงด้วย เนื่องจากขณะใช้คอมพิวเตอร์ดวงตาต้องจ้องมองหน้าจอที่มีตัวหนังสือหรือภาพกระพริบตลอดเวลา ทำให้กลไกตามธรรมชาติของการกระพริบตาลดน้อยลงจนเราไม่สังเกต เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตาแห้ง และหากดวงตาอยู่ในสภาพที่เหน็ดเหนื่อยหรือตาแห้ง ก็จะทำให้สายตาเสื่อมลง ทาง American Optometric Association (AOA) มีการให้คำจำกัดความของโรคหรือภัยที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผลที่เกิดกับดวงตาและการมองเห็นว่า คือโรค Computer Vision Syndrome หรือ CVS โดยมีอาการคือ ปวดเบ้าตา, ปวดต้นคอ, มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา, มีภาวะตาแห้ง, รอยตาคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา สาเหตุหลักนอกจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ แล้ว ยังสามารถเกิดได้จากการได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลตทั้งจากรังสี UV ที่ออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ หรือจากแสงแดดก็ได้




    ระบบประสาท จากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์ แม้ว่ารังสีชนิดต่างๆจากหน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีความปลอดภัยก็ตาม แต่การรับการแผ่รังสีเป็นเวลานานก็อาจจะส่งผลกระทบถึงระบบประสาทของมนุษย์ได้เช่นกัน จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อึดอัด และนอนไม่หลับ เป็นต้น

    เสี่ยงต่อการเป็นหมัน ในวารสาร “Human Reproduction” มีรายงานที่เขียนโดย ดร.เยซิม เซย์คิน หัวหน้าทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยประจำนครนิวยอร์ก รายงานไว้ว่า คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปหรือโน๊ตบุ๊ค ที่หลายคนชอบวางทำงานไว้บนหน้าตักนั้น จะทำให้อุณหภูมิที่ลูกอัณฑะสูงขึ้นซึ่งมีผลต่อการสร้างสเปิร์มของผู้ชายทุกคนและทุกวัย ปกติแล้วลูกอัณฑะที่ใช้ผลิตเสปิร์มของผู้ชายนั้นเป็นอวัยวะที่ไวต่ออุณภูมิเป็นอย่างมาก โดยอุณภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียสก็จะลดจำนวนเสปิร์มที่แข็งแรงลงไปถึงร้อยละ 40 การวางโน๊ตบุ๊คบนตักหนึ่งชั่วโมงทำให้อุณหภูมิลูกอัณฑะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.6 ถึง 2.8 องศาเซลเซียส

โรคที่เกิดจากท่านั่งหรือการทำงานซ้ำซาก

โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือ และหลัง ผู้ที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
o ระยะแรกเป็นแล้วหายเมื่อได้พัก
o ระยะสองคือ มีอาการต่อเนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก
o ระยะสามคือ เป็นตลอดเวลาไม่หายเมื่อได้พัก
การรักษาคือ ต้องปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเองหรือถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์ และควรเล่าประวัติการทำงานเพื่อให้แพทย์ทราบสาเหตุที่แท้จริง แพทย์จึงจะรักษาเฉพาะที่ได้

    อาการ Repetitive Strain Injury หรือ RSI ซึ่งสามารถเป็นได้กับทุกส่วนของร่างกายจากการนั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่ และสายตา เนื่องจากอวัยวะส่วนที่มีปัญหาถูกวางค้าง ถูกทิ้งน้ำหนัก หรือกดทับนานๆ จนอักเสบ หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น


กลุ่มอาการปวดข้อ(Carpal Tunnel Syndrome: CTS) เป็นกลุ่มอาการของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอาการของโรคกระดูกข้อมือเจ็บปวด ข้อกระดูกนิ้วมือเสื่อม และชา
สาเหตุ เกิดจากการกดแป้นพิมพ์ และการใช้เมาส์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การจับเมาส์โดยมีข้อมือเป็นจุดหมุน อาจเกิดพังผืดบริเวณข้อมือ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการชา จนไม่สามารถหยิบของได้




   การรักษา หากเริ่มมีอาการอาจต้องรับประทานยาแก้ปวดและหยุดการเคลื่อนไหวโดยการพักข้อมือ อาการก็อาจทุเลาลงได้ อาการปวดจะหายไปในที่สุด หากปวดบวม ให้รับประทานยาระงับปวดและอาจต้องสวมอุปกรณ์ประคองมือ เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ หรือฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เข้าบริเวณข้อมือ เพื่อลดการอักเสบโดยตรง ส่วนในรายที่เป็นมานานอาจจำเป็นต้องผ่าตัดจึงจะได้ผลดี


โรคที่เกิดจากเชื้อโรคที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์

    โรคภูมิแพ้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอก โฮล์ม ในสวีเดนพบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอและคอมพิวเตอร์ สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น คัน คัดจมูก และปวดศีรษะ ผลวิจัยพบว่า เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา โดยเฉพาะหากสภาพภายในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่ง


    Qwerty Tummy (โรคที่ตั้งชื่อตามตัวอักษรชุดแรกบนแป้นคีย์บอร์ด) ซึ่งอาจระบาดในที่ทำงานได้ หากว่าแป้นคีย์บอร์ดมีแบคทีเรีย สาเหตุเกิดจากอาหารเป็นพิษ โดยผู้ใช้รับ-ประทานอาหารไปพร้อมกับใช้งานคีย์บอร์ด ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดคีย์บอร์ดเป็นประจำไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ด้วยผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำหมาดๆ อย่างน้อยเดือนละครั้งเสมอ





โรคที่เกิดจากการใช้งาน

    โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) มักจะเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้กลายเป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย เช่น ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนาน ๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย หากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาทได้ จึงควรปรับเปลี่ยนลักษณะงานและพยายามควบคุมอารมณ์ตนเอง




    เมื่อทราบดังนี้แล้วสำหรับผู้ที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นแค่ไหนก็แล้วแต่ คงต้องสอดแทรกการบริหารร่างกายเข้าไปด้วย บิดซ้ายนิด ขวาหน่อย ยืดเส้นยืดสาย จะได้ยืดอายุสุขภาพดีของเราต่อไป

การดูแลสุขภาพดวงตา กับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์


          มี 5 วิธีดูแลสุขภาพ ในการทำงานหน้าจอคอมฯ ที่คุณสามารถทำตามได้ง่ายๆ เพื่อช่วยให้คุณทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น



1. อย่าลืมกระพริบตา

เวลานั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ อย่าลืมกระพริบตา เพราะการพริบตาจะช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยงไม่ให้ดวงตาแห้ง หลายปัญหาเกี่ยวกับดวงตาก็เกิดจากการ นั่งหน้าจอคอมฯ นานๆ โดยไม่มีการกระพริบตา ดังนั้นอย่าลืมกระพริบตา หรือเพ่งเล็งหน้าจอคอมฯ นานเกินไป



2. อย่าลืมดื่มน้ำ

เป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้วว่าน้ำนั้นมีความสำคัญกับร่างกายของคนเรา ยิ่งมีการทำงานที่ต้องใช้สมองและร่างกายด้วยแล้ว น้ำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมันจะทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย อย่างเช่น สมอง ดังนั้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นอย่าลืมดื่มน้ำกันนะจ๊ะ



3. อย่าลืมว่าคุณนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง

หลายครั้งหลังจากการทำงานแล้ว หลายคนรู้สึกปวดเมื่อยร่างกายโดยเฉพาะส่วนหลังหรือต้นคอ เหตุผลส่วนหนึ่งคงหนีไม่พ้นจากการนั่งทำงานในท่าที่ผิด ตัวอย่างเช่น การนั่งเอนหลังมากเกินไป ซึ่งเป็นการนั่งไม่ถูกต้อง การนั่งในลักษณะนี้นอกจากจะทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกายแล้ว ยังลดประสิทธิภาพในการทำงานของเราด้วย ท่านั่งที่ถูกต้องคือการนั่งตัวตรง หากนั่งอยู่หน้าจอคอมฯ เพื่อพิมพ์งานต่างๆ ควรให้คีย์บอร์ดและเม้าส์อยู่ในระดับที่พอเหมาะกับแขนและมือที่ยื่นออกไป ไม่สูง ต่ำ หรือ ไกลจากตัวเรามากนัก แค่นี้ก็ช่วยไม่ให้ปวดเมื่อยได้พอสมควร

4. อย่าลืมทำความสะอาด

ความสะอาดก็มีส่วนสำคัญที่ไม่ควรปล่อยปละละเลย หากคุณเห็นฝุ่นตามอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือในห้อง ควรทำความสะอาดให้หมดจดเพื่อสุขภาพที่ดีในการทำงาน เพราะฝุ่นละอองเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งเชื้อโรคหรือแบคทีเรียต่างๆ ที่จะส่งผลให้คุณมีโรคภัยไข้เจ็บได้ และที่สำคัญมันยังลดบรรยากาศการทำงานในห้องของคุณด้วย

5. อย่าลืมลุกขึ้นจากเก้าอี้บ้าง

ไม่ว่าคุณจะมีเหตุผลที่ต้องทำงานหนักและต้องนั่งนานแค่ไหน ก็ไม่ควรที่จะลืมลุกขึ้นจากเก้าอี้บ้าง เดินผ่อนคลายยืดเส้นยืดสาย หรือสามารถนั่งบนเก้าอี้ไปพร้อมกับยืดเส้นยืดสายไปด้วยก็ได้ เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียน ส่งผลให้คุณมีความสามารถหรือประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากยิ่งขึ้น มันช่วยได้จริงๆ นะ แถมยังผ่อนคลายไม่ให้ตึงเครียดมากเกินไปได้อีกด้วย

ที่มา : http://baanstyle.com/
อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์
   นอกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์แล้ว ในทางตรงกันข้ามก็มีโทษต่อสุขภาพอย่างร้ายกาจเช่นกัน การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำให้ระบบประสาทเสื่อมและเกิดโรคเครียด ภาพและตัวอักษรที่เคลื่อนไหวอยู่หน้าจอนั้น มีโทษต่อสายตา และการใช้เครื่องอาจทำให้ปวดเอวและหัวไหล่ได้อีกด้วย
ถึง แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะมีโทษอย่างไร เราก็ต้องใช้มันต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จึงเสนอว่าผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บ่อยๆ ควรใส่ใจกับการกินอาหารที่บำรุงสุขภาพให้แข็งแรง และป้องกันโรคต่างๆ ได้เช่น
+ อาหารกลางวัน ควรเลือกอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ ปลา และถั่ว
+ อาหารเย็น ควรเป็นอาหารเบา และรสจืด ซึ่งกินผักเหมาะที่สุด
นอกจากนี้ ยังควรกินอาหารบำรุงสมองและประสาทตา ได้แก่ ปลา กุ้ง ไข่ จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง
ส่วนอาหารที่บำรุงประสาทตา ได้แก่ ผักบุ้ง ฟักทอง ตับ ไข่ นม ผัก มะเขือเทศ นอกจากการรับประทานอาหารบำรุงร่างกายแล้ว
สิ่งที่เราควรทำอีกอย่างหนึ่งคือ ... หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ และควรดื่มน้ำมากๆ เมื่อเป็นสาวไอทีเต็มรูปแบบก็ควรดูแลตัวเองด้วยนะ



ที่มา:http://learning.eduzones.com/offy/4934
การออกกำลังกายและบริหารร่างกายสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

   ป้องกันอาการปวด จากผลกระทบของการเล่นเกมและใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ 4 ท่า ดังนี้

1. ท่าบริหารและผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง ท่านี้ควรให้เด็ก ๆ ยืนหรือนั่งให้หลังตรง แล้วเหยียดแขนทั้งสองข้างขึ้นด้านบน ประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน แล้วหงายมือออก

2. ท่าบริหารกล้ามเนื้อแขน ให้เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้าโดยให้มือประสานกัน

3. ท่าบริหารกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือ โดยยืดแขนออกไปข้างหน้า โดยให้มือชี้ลง พร้อมทั้งดัดนิ้วมือไปทางด้านหลัง โดยให้ทำสลับกันทั้งซ้ายและขวา อย่างน้อย 20 วินาที

4. ท่าบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยการยืนตัวตรง เอามือซ้ายจับบนศีรษะด้านขวา พร้อมโน้มคอไปทางด้านเดียวกับที่มือจับศีรษะอยู่ ทำสลับไปมา ซ้ายขวา

ที่มา : http://women.thaiza.com/

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Search engine

วิธีการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

   การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ด้วยการใช้ Search Engine
Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อ ๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป


ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการ Search Engine



1. การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด ใช้ในกรณีที่ต้องการค้นข้อมูลโดยใช้คำที่มีความหมายตรงกับความต้องการ โดยมากจะนิยมใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องที่จะสืบค้นข้อมูล มีวิธีการค้นหาได้ดังนี้
1.1 เปิดเว็บเพจ ที่ให้บริการในการสืบค้นข้อมูล ตัวอย่างเช่น
www.google.co.th เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นข้อมูลของต่างประเทศ ข้อดีคือ ค้นหาง่าย เร็ว
www.yahoo.com เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นที่ดีตัวหนึ่งซึ่งค้นหาข้อมูลง่าย และข้อเด่นคือภายในเว็บของ www.yahoo.com เองจะมีฟรีเว็บไซต์ ที่รู้จักกันในนาม http://www.geocities.com ซึ่งมีจำนวนเว็บมากมาย ให้ค้นหาข้อมูลเองโดยเฉพาะ
www.sanook.com เป็นเว็บของคนไทย
www.siamguru.com เป็นเว็บของคนไทย
โดยพิมพ์ช่องเว็บที่ช่อง Address ดังตัวอย่างซึ่งใช้ www.google.co.th








1.2 ที่ช่อง ค้นหา พิมพ์ข้อความต้องการจะค้นหา ในตัวอย่างจะพิมพ์คำว่า แหล่งท่องเที่ยวเมืองโคราช
1.3 คลิกปุ่ม ค้นหาด้วย Google





1.4 จากนั้นจะปรากฏรายชื่อของเว็บที่มีข้อมูล




1.5 คลิกเว็บที่จะเรียกดูข้อมูล




2. หลักการใช้คำในการค้นหาข้อมูล
การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด เช่น ถ้าต้องการจะสืบค้นเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์ การค้นหาจึงต้องการเนื้อหาที่เจาะลึก การสร้างคำคีย์เวิร์ด ต้องใช้คำที่เจาะลึกลงไปเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เฉพาะคำมากยิ่งขึ้น
2.1 การใช้คำที่คิดว่าจะมีในเว็บที่ต้องการจะค้นหา เช่น ต้องการจะหาข้อมูลเกี่ยวกับ บุคคล ที่ชื่อว่า นาย อุบล ถ้าเราพิมพ์ข้อมูลที่ช่อง Search ว่า อุบล แล้วทำการค้นข้อมูล Search Engine จะทำการค้นหาคำ โดยจะค้นหารวมทั้งคำว่า จังหวัดอุบล อุบลราชธานี คนอุบล วิทยาลัยเกษตรอุบล เทคโนโลยีอุบล ซึ่งเราจะเจอะ ข้อมูลจำนวนมาก ดังนั้นการใช้คำในการค้นหาข้อมูลจึงต้องใช้คำเฉพาะเพื่อให้ได้ข้อมูล ที่น้อยลง เช่น อาจจะพิมพ์คำว่า นาย อุบล พิมลวรรณ ซึ่งข้อมูลจะมีจำนวนที่น้อยลง


ตัวอย่าง พิมพ์ข้อมูลที่ช่อง Search ว่า อุบล
ตัวอย่าง พิมพ์ข้อมูล อุบล พิมลวรรณ


2.2 ใช้เครื่องหมาย คำพูด (“ _ ”) เพื่อกำหนดให้เป็นกลุ่มคำ เช่น จะค้นหาคำ ชื่อหนังสื่อที่ชื่อว่า โปรแกรม PhotoShop สังเกตว่าคำที่จะค้นหา จะเป็นคำที่ต้องเว้นวรรค แต่เมื่อมีการสืบค้นด้วย Search Engine ระบบจะค้นหาคำแบ่งเป็นสองคำ คือคำว่า โปรแกรม และคำว่า PhotoShop จึงทำให้ข้อมูลที่ได้ผิดพลาด ดังนั้นการสร้างคำ จึงต้องกำหนดคำด้วยเครื่องหมายคำพูด จึงใช้คำว่า “โปรแกรม PhotoShop” ในการค้นหาแทน



2.3ใช้เครื่องหมาย ลบ (-) ไว้หน้าคำที่ไม่ต้องการจะให้ปรากฏอยู่ในรายการแสดงผลของการค้นหา เช่น ต้องการหาชื่อโรงเรียน แต่ทราบแล้วว่าโรงเรียนที่จะค้นหาไม่ใช้โรงเรียนอนุบาล จึงต้องยกเลิกคำว่าอนุบาล โดยพิมพ์คำว่า โรงเรียน -อนุบาล ผลที่ได้จะทำให้มีเฉพาะคำว่า โรงเรียน ทั้งหมดแต่จะค้นหาคำว่า อนุบาล (*การพิมพ์เครื่องหมาย ลบกับคำที่จะยกเลิกต้องติดกัน มิฉะนั้นระบบจะเข้าใจว่าจะค้นหาคำ 3 คำ คือ คำว่า โรงเรียน คำว่า + และคำว่า อนุบาล*)



ตัวอย่างเช่น

http://www.google.com
http://search.yahoo.com
http://search.msn.co.in
http://www.look.com
http://www.dmoz.org
http://www.altavista.com
http://www.alexa.com
http://www.aesop.com
http://theyellowpages.com
http://www.goguides.org
http://www.netsearch.org
http://www.entireweb.com
http://www.exactseek.com